...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช...(กิจกรรทความรู้รอบตัว)ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี..

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไก่เบตง







เบตง...เป็นพื้นที่อำเภอหนึ่งของ จัง หวัดยะลา ซึ่งอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ใครๆก็หวาดในยามนี้

แต่เมื่อได้เข้าไป สัมผัสกับหลายสิ่งหลายอย่างของเบตง แล้วจะ ต้องประทับใจจนลืมภัย และ ภยันตราย ทั้ง ปวง โดยเฉพาะเกี่ยวกับอาหาร อย่างเช่น กบภูเขา หรือ ไก่เบตง ถือว่า เป็นของดีประจำท้องถิ่น เลยทีเดียว

ไก่เบตง....มี หงอนแบบจักร ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ขนปีกน้อย ไม่มีขนหาง สีขน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เหลืองทองเข้ม เหลืองทองอ่อน และ ขาว หรือ ขาวแซมน้ำตาล

ไก่พันธุ์นี้ทนต่อสภาพอากาศร้อน ทนต่อโรคแมลง สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าไก่พันธุ์พื้นเมืองทั่วๆไป ทั้งตัวผู้ตัวเมียมีอัตราใกล้เคียงกัน เพศผู้ อายุ 14 สัปดาห์ น้ำหนัก 1,800 กรัม ตัวเมีย เมื่ออายุ 18 สัปดาห์ น้ำหนัก 1,700 กรัม ....โดยน้ำหนักเฉลี่ยที่อายุ 15 สัปดาห์ จะอยู่ประมาณ 1,700 กรัม...

....ตัวเมียจะออกไข่ฟองแรกเมื่ออายุได้ 27 สัปดาห์ และจะวางไข่ได้ไม่ต่ำกว่า 100 ฟอง

ไก่เบตง....มีเนื้อมาก เหนียวนุ่มหอม รสชาติดี เนื้อไม่แฉะ จึงเป็นที่นิยม ไม่ว่าจะแปรรูปอาหารชนิดใด อาทิ ไก่สับ ไก่นึ่ง ไก่ต้ม ตุ๋นยาจีน ข้าวมันไก่ ข้าวหน้าไก่ ฯลฯ... อร่อยลืมอิ่มกันทั้งนั้น (แต่ต้องอยู่กับฝีมือคนปรุงด้วย)

ด้วยความอร่อย(ของเนื้อ)เป็นที่ต้องการแก่ผู้บริโภคนี้ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้นำไก่พันธุ์เบตงมาทำการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อให้สามารถเลี้ยงได้ในสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป

รศ.ดร.วิจารณ์ วิชชุกิจ คณบดีคณะเกษตร มก. บอกถึงเรื่องนี้ว่า...ปัจจุบันได้ทำการวิจัยและพัฒนาไก่เบตงจน กระทั่งรสชาติและคุณภาพเนื้อ เป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพ ดีกว่า เนื้อมากและนุ่มกว่าเดิม อีกทั้งราคาไม่แพง...จน กระทั่งสายพันธุ์นิ่งสามารถขยายพันธุ์เข้าสู่ภาคปศุสัตว์ในภาคธุรกิจได้ จึงให้ชื่อว่า...ไก่เคยูเบ-ตง ตามนามของสถาบัน

ปัจจุบันพร้อมให้เกษตรกรโดยทั่วไปเลี้ยงเป็นอาชีพได้ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับ ผู้บริโภค...

...หากสนใจ สอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฟาร์มสุวรรณวาจกสิกิจ ภาควิชา สัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โทร. 0-2579-8525 เวลาราชการ.

ปัญญา เจริญวงศ์
...............
ไก่เบตง
ไก่เบตง Betta splendens Regan ไก่เบตง Betta splendens Regan ?การเลี้ยงไก่เบตง จังหวัดยะลา? ..และการควบคุมโรค.. ประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตง คำว่า “เบตง” เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา ซึ่งมีพื้นที่อยู่ใต้สุดของจังหวัดยะลา และประเทศไทยมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับรัฐเคดา ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ลักษณะพื้นที่เป็นที่สูง ราษฏรส่วนใหญ่เป็นคนไทยมีเชื้อสายจีน มีอาชีพในการทำสวนยางพาราและค้าขาย และเป็นแหล่งกำเนิดไก่ที่มีชื่อเสียงมาก เนื้อมีรสชาดอร่อยและตัวใหญ่ ตามประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตงนี้ เป็นไก่ซึ่งมีเชื้อสายมาจากไก่พันธุ์เลียงชาน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เมื่อชาวจีนอพยพมาจากประเทศจีนและมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ตั้งหลักแหล่งในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จึงได้นำไก่พันธุ์นี้มีมาแพร่หลายในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จนถึงทุกวันนี้ แต่ในปัจจุบันไก่พันธุ์นี้มีปริมาณลดน้อยลง เนื่องจากมีการอพยพบ้านเรือนบ่อย ๆ และราษฏรบางท้องที่ไม่ได้มีการทำวัคซีนป้องกันโรค บางครั้งทำให้เกิดโรคระบาดขึ้นไก่ล้มตายเป็นจำนวนมาก และอีกประการหนึ่ง คือ ราคาที่จำหน่ายในท้องที่หรือตลาดมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ ประมาณ 70 – 80 บาท เนื่องจากหาซื้อยากขึ้นเพราะมีราษฏรเลี้ยงลดน้อยลง ตลาดผู้บริโภคไม่แน่นอน
ลักษณะของไก่พันธุ์เบตง

ตัวผู้ ปาก สี สีเหลืองอ่อน มีลักษณะ จงอยปากงองุ้มแข็งแรง อาจเป็นเพราะต้องหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ จึงทำให้ปากมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ ตา ตานูนแจ่มใส หงอน มีหนึ่งแบบ คือ แบบหงอนจักร์ หัว ลักษณะกว้างไม่แคบ ตุ้มหู ไม่มี คอ คอตั้ง , แข็งแรง ขนคอมีสีเหลืองทองที่หัวแล้วค่อย ๆ จางลง มาถึงลำตัวลักษณะคล้ายสร้อยคอ ปีก สั้น , แข็งแรงพอเหมาะกับลำตัว ขนสีเหลือง อาจมีเส้นสีดำ 1 หรือ 2 เส้น ที่ปลายแถบของขน อก กล้ามเนื้อกว้าง ตามลักษณะไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไป ขนที่อกและใต้ปีกสีเหลืองบาง หลัง มีระดับขนานกับพื้นดิน (กว้าง , เป็นแผ่น ๆ) หาง มีขนหางไม่ดกมากนัก มีขนสีน้ำตาลปน หางขนมีน้อยและไม่ยาวมาก ปั้นท้าย (ก้นไก่) เป็นรูปตัดเห็นได้ชัด ขาไก่ มีขนาดใหญ่พอเหมาะกับลำตัวเช่นเดียวกับไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไป ขนสีเหลือง ผิวหนังมีสีแดงเรื่อ ๆ เพราะขนน้อย แต่ถ้าเป็นไก่ตอนจะมีขนดก หน้าแข้งไก่ กลม , ล่ำสัน , เกล็ดวาวแถวแนวเป็นระเบียบสีเหลือง นิ้วไก่ เหยียดตรงและแข็งแรง เล็บเท้า สีขาวอมเหลือง

ตัวเมีย หัว ลักษณะกว้าง ตา แจ่มใส หงอน รูปถั่วสั้น หรือ จักรติดหนังสือ ปาก โคนปากมีสีน้ำตาลเข้มค่อย ๆ จางมาเป็นสีเหลืองที่ปลายปาก จงอยปากงุ้ม แข็งแรง คอ คอตั้งแข็งแรง สีเหลืองอ่อน อก กว้างหนาตามลักษณะไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไปขนสีเหลืองดกมีขนคลุมทั่วตัว หลัง ขนสีเหลืองดก วางแนวขนานกับพื้น ปีก พอเหมาะกับลำตัว แข็งแรง ขนปีกเต็ม เป็นแบบมีสีดำประปราย หาง หางดก , สีเหลือง ขาไก่ แข็งแรง ขนาดพอเหมาะกับลำตัว ขนสีเหลืองดก หน้าแข้งไก่ กลมสีเหลือง เกล็ดวางแถวแนวเป็นระเบียบ นิ้วไก่ เหยียดตรงและแข็งแรง เล็บไก่ สีขาวอมเหลือง ความต้านทานโรค มีความต้านทานโรคสูงพอสมควร

การเลี้ยงไก่เบตง ไก่พันธุ์เบตง เป็นไก่ที่ชอบหากินอิสระในสนามหญ้าบริเวณบ้านตามป่าโปร่ง ๆ คงเป็นเพราะ ไก่พันธุ์นี้มีลักษณะไก่ป่าอยู่มาก ราษฏรในอำเภอเบตงเลี้ยงไก่พันธุ์นี้ตามบริเวณลานบ้านในสวนยางพารา ไก่พันธุ์นี้เลี้ยงเชื่องมากชอบหากินเป็นฝูง ตัวผู้รักลูกมาก บางครั้งจะพบว่าตัวผู้จะฟักลูกแทนตัวเมีย
ที่มา:กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดยะลา

ครบเครื่องเรื่องคนรักหมา

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุนัข
ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าสุนัข หรือแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีกันเกือบทุกบ้าน ด้วยสภาพของสังคม และความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเวลาการทำงานที่มีมากนัก กับสังคมที่มีการแข่งกันกันอย่างมากและตลอดเวลา ความเครียดที่เกิดขึ้นจากการทำงาน สัตว์เลี้ยงอาจจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับสังคมในปัจจุบัน ดังนั้นด้วยความเป็นคนเลี้ยงจึงย่อมเป็นเจ้าของ เจ้าตูบไปโดยปริยาย ความรับผิดของเจ้าของที่มีต่อเจ้าตูบจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ทั้งเรื่องสุขภาพ คุณภาพชีวิต การฝึก พฤติกรรม และปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่เจ้าของและสัตว์อื่นๆ ด้วย ความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นเจ้าของเจ้าตูบอาจจะกินระยะเวลานาน บางครั้งต้อง การความอดทนเหมือนกัน โดยเฉพาะในยามที่เจ็บป่วย หรือพิการ รวมทั้งอาจจะหมายถึงความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเรื่องของ เจ้าตูบเหมือนกัน คณะจัดทำเวปไซด์ ช้อปสะบัดดอท หวังอย่างยิ่งว่า จะมีประโยชน์ต่อผู้เป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงน่ารัก ที่มาคัดลอกข้อความบางส่วนมาอ้างอิง มาจากเวบไซต์ http://www.vet.ku.ac.th ด้วยผู้มีความรู้โดยตรง
1. สัตว์เลี้ยงกับฟัน สำคัญไฉน?
2. โรคลำไส้อักเสบติดต่อ ยอดฮิตในสุนัข
3. การดูแลหูและโรคของหู อักเสบของสุนัข
สัตว์เลี้ยงกับฟัน สำคัญไฉน?
คุณเคยสังเกตุช่องปากและฟันสัตว์เลี้ยงของคุณบ้างไหม บ่อยครั้งหรือไม่ที่เจ้าตัวดีของคุณมีกลิ่นปากและคุณคงเคยคิดหาวิธีที่จะช่วยเหลือเจ้าตูบด้วยใช่ไหมล่ะ หากคำตอบของคุณมีคำว่าใช่เป็นส่วนใหญ่ นั่นหมายถึงว่าคุณเห็นความสำคัญ เกี่ยวกับสุขภาพฟันและเหงือกของสัตว์เลี้ยงของคุณ เพราะจริง ๆ แล้ว ในชีวิตประจำวันของเจ้าตูบหรือเจ้าเหมียวน้อยจำเป็นต้องใช้ฟันในการขบเคี้ยวอาหารต่าง ๆซึ่งพวกเขาจำเป็นต้องมีฟันที่แข็งแรงและเหงือกที่สมบูรณ์ หากแต่ปัญหาทางช่องปากก็อาจ เกิดขึ้นได้ เช่น การมีกลิ่นปาก มีหินปูนเยอะ มีเลือดออกตามไรฟัน ฯลฯ หนทางป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก็คือ อาจเริ่มต้นจากที่ตอนพวกเขายังเล็ก ๆ เจ้าของควรพามาตรวจสุขภาพฟันและเหงือกตั้งแต่แรกเกิดหรือทุก ๆ 6 เดือน หมั่นแปรงฟันให้เขาบ้าง ให้เขาดื่มน้ำสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร เมื่ออายุพอประมาณ 2-3 เดือนก็ควรหากระดูกเล็ก ๆ ให้เขาได้หัดใช้เขี้ยวและฟัน แต่ถ้าเจ้าตูบมีอาการขึ้นมาก่อนแล้วล่ะ เจ้าของก็ควรพาเจ้าสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลสัตว์ที่ให้บริการทางด้านทันตกรรม เช่นการขูดหินปูน ถอนฟัน อุดฟัน และเคลือบฟัน ตัดเขี้ยวหรือการแก้ไขปัญหาการ ไม่สบกันของฟัน เป็นต้น เท่านี้ฟันของเจ้าตัวดีทั้งหลายก็จะไม่สร้างปัญหาให้กับเจ้าของสัตว์และก็ตัวของเขาได้อีกต่อไป SZ : ด้วยความรู้โดยตรงจากผู้เลี้ยง การใช้กระดูกหนังที่มีตามร้านขายอาหารสุนัข ทั่วไป จะช่วยลดอาการกลิ่นปากของสุนัขที่เลี้ยง ได้เป็นอย่างดี ถ้าเกิดปัญหาสำหรับการที่เจ้าตูบไม่ชอบ ให้เวลาเจ้าตูบ คันฟันแล้วกัดของไม่เลือก ทำให้ข้าวของเสียหาย ช่วงแรกต้องพยายามเก็บของที่สำคัญไม่อยากให้เจ้าตูบกัดล่ะก็ ไว้ที่สูงๆ เข้าไว้ และพยายามโยนกระดูกชิ้นหนังนั้น ให้เจ้าตูบที่คันฟันแทนบ่อยๆ มันก็จะแทะกระดูกนั้นเอง ฝึกความเคยชิ้นให้เค้ารู้สึกว่า อย่างอื่นเค้ากัดไม่ได้ เค้าก็จะแทะสิ่งของที่เราให้เค้าไปเอง
โรคลำไส้อักเสบติดต่อ ยอดฮิตในสุนัข
เป็นไวรัสที่สามารถติดต่อที่รุนแรงที่ทำลายระบบทางเดินอาหาร เม็ดเลือดขาว และในสุนัขบางตัวจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งมีการระบาดทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย การติดเชื้อของโรคลำไส้อักเสบ สามารถแพร่กระจายจากสุนัขตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง การติดต่อมีโอกาสมากขึ้นเมื่อสุนัขไปอยู่รวมกันมาก หรือแหล่งรวมสุนัขก็จะเป็นแหล่งที่ทำให้สุนัขปกติไปรับเชื้อมาจากการสัมผัสได้ สุนัขที่เลี้ยงไว้ในบ้าน หรือไว้ในคอก ในสวนมีโอกาสที่จะสัมผัส หรือเล่นกับสุนัขตัวอื่นได้ยาก จะมีโอกาสที่จะสัมผัสติดเชื้อไวรัสได้ยาก โรคลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อจะเกิดขึ้นเฉพาะแต่สุนัข หรือสัตว์ในตระกูลสุนัขเท่านั้น จะไม่ก่อให้เกิดโรคลำไส้ใน สัตว์ชนิดอื่นๆ หรือคน แต่สัตว์ชนิดอื่นๆ หรือคนสามารถที่จะเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาติดกับสุนัขของตนเองได้ สุนัขสามารถติดเชื้อได้จากอุจจาระของสุนัขที่ป่วยเป็นโรค หรือของเหลวที่สุนัขป่วยอาเจียนออกมา ในอุจจาระของสัตว์ป่วยจะพบมีเชื้ออยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นไวรัสที่มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมมาก ไวรัสสามารถแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ด้วย การติดไปกับขน ผม หรือเท้าของสุนัขที่ป่วย หรือติดเชื้อ อาจจะปนเปื้อนไปกับกรง รองเท้า หรือสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ
เราจะทราบได้อย่างไรว่าเจ้าตูบเป็นโรคลำไส้อักเสบ
อาการเริ่มแรกของสุนัขที่ติดเชื้อคือ ซึม เบื่ออาหาร อาเจียนและท้องเสีย อย่างรุนแรง อุณหภูมิของร่างกายอาจจะสูงขึ้น อุณหภูมิของร่างกายที่วัดจากทวารหนักของสุนัข มีค่าประมาณ 101º - 102ºF อาการป่วยดังกล่าวมักจะปรากฎขึ้นภายหลังจากที่สุนัขได้รับเชื้อ ไวรัสได้ประมาณ 5-7 วัน ในระยะแรกของการติดเชื้อ(แสดงอาการแล้ว) อุจจาระของสุนัขจะมีลักษณะเหลวมีสีออกเทา หรือเหลืองเทา ในบางครั้งอาการแรกเริ่มสุนัขอาจจะถ่ายเหลวโดยมีเลือดปนออกมาได้ เมื่อสุนัขมีการถ่ายเหลว หรืออาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้สุนัขสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว สุนัขป่วยบางตัวจะมีอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและถ่ายอุจจาระเป็นน้ำสีน้ำตาลจนถึงสีแดง(มีเลือดปน)พุ่งจนตายได้ ในสุนัขบางตัวอุจจาระอาจจะมีลักษณะเหลวเท่านั้นและสามารถฟื้นตัวจากการป่วยได้ อาการป่วยมักพบว่า ลูกสุนัขจะแสดงอาการป่วยรุนแรงกว่าสุนัขโต สุนัขมักจะตายภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มแสดงอาการ ลูกสุนัขมักจะตายด้วยภาวะช๊อค โดยมักจะเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อประมาณ 1-2 วัน ในอดีตพบว่าลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 5 เดือนมีอัตราการป่วยค่อนข้างสูงและประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์จะตายจากการติดเชื้อนี้ ปัจจุบันเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนกันอย่างแพร่หลาย อัตราการป่วยและอัตราการตายจากการติดเชื้อจึงลดลง เว้นแต่เจ้าของ สุนัขไม่ค่อยสนใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับสุนัขเป็นประจำ โอกาสป่วยเป็นโรคจึงมีมากขึ้น ลูกสุนัขช่วงระหว่างหย่านม (1 เดือน)ถึงอายุ 6 เดือนเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรค ควรให้ความอบอุ่นกับร่างกายของสุนัขป่วยและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด.
การป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข
การป้องกันโรคลำไส้อักเสบสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน คือ วัคซีนรวม ประจำทุกปี ซึ่งควรสอบถามสัตวแพทย์ถึงโปรแกรมการฉีดในลำดับต่อไปด้วย กรณีที่สุนัขที่เลี้ยงเกิดป่วยติดเชื้อ ต้องทำความสะอาดบริเวณกรง หรือคอก หรือที่อยู่ของสุนัขป่วย เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ด้วยยาฆ่าเชื้อ จำพวกยาทำความห้องน้ำ ครัว อย่าลืมว่าเชื้อไวรัสนี้ สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมได้เวลานานเป็นเดือนๆ เจ้าของสุนัขควรป้องกันไม่ให้สุนัขไปสัมผัสกับสิ่งขับถ่ายของสุนัขอื่นๆ เมื่อนำมันออกไปนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือนควรระมัดระวังอย่างยิ่ง สิ่งปฏิกูล หรือสิ่งขับถ่ายของสุนัขควรกำจัดทิ้งให้เร็วที่สุดไม่ควรกัก หมักหมมไว้ ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจสอบดูสิ่งขับถ่ายของสุนัขข้างบ้านด้วย และควรแนะนำให้ปฏิบัติตาม สุนัขจะได้ปลอดภัยไม่นำเชื้อมาให้กันและกัน ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขของเรากำลังจะป่วยด้วยการติดเชื้อ โรคลำไส้อักเสบหรือไม่ ควร ปรึกษาสัตวแพทย์ การลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
คำแนะนำสำหรับการเลี้ยงดูให้เจ้าตูบ มีสุขภาพดี
สัตว์เลี้ยงที่มีสุขภาพดีจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นเพื่อนที่มีความสุข เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีชีวิตที่ดี เจ้าของสัตว์จะต้องให้ความใส่ใจในการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิดและควรทำเป็นประจำ เพื่อลดโอกาสการป่วยชองสัตว์ ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรปรึกษา หรือนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ เมื่อพบว่า สุนัขมีอาการต่างๆ เหล่านี้
.พบมีสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติออกจากจมูก ตา หรือช่องเปิดอื่นๆของร่างกาย
.สัตว์เลี้ยงไม่กินอาหาร มีน้ำหนักลดลง หรือกินน้ำมากขึ้นกว่าปกติ
.ขับถ่ายลำบาก หรือผิดปกติ หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
.พบมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ หรือพบมีความดุร้ายขึ้นอย่างกระทันหัน หรืออ่อนเพลีย
.พบมีก้อนผิดปกติ เดินกระโผลกกระเผลก ลุกหรือนอนลำบาก
.มีการสั่นหัวมากผิดปกติ เกา หรือเลีย หรือกัดแทะตามลำตัวมากผิดปกติ
ลูกสุนัขที่ติดเชื้อลำไส้อักเสบดังกล่าว ที่ทำให้มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจมักจะมีอาการซึมและไม่ยอมดูดนมและตายอย่างรวดเร็ว ลูกสุนัขบางตัวอาจตายในอีกหลายวันต่อมา การติดเชื้อในลักษณะนี้ ยังไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะ ลูกสุนัขที่รอดชีวิตจะพบมีความเสียหายของหัวใจบางส่วน(ถาวร) ลูกสุนัขบางตัวอาจจะ ตายด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในอีกหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนต่อมา หลังจากที่หายป่วยแล้ว SZ : แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์ ดีกว่าค่ะ
การดูแลหูและโรคของหู อักเสบของสุนัข
เจ้าของสุนัขมักจะนำสุนัขของตนเองมาพบสัตวแพทย์และมักจะมาบ่นให้ฟังอยู่เสมอว่า "หูสุนัขของตนเองมีกลิ่นที่เหม็นน่ารังเกียจมากเลย มันเป็นอะไรหรือค๊ะ/ครับ?" หรือ"แมวของชั้นชอบเกาหูมากเลย มีขี้หูดำมาก ชั้นจะทำอย่างไรดี" หรือ "สุนัขของผมชอบเอาหูไปถูไปกับพรม แต่ผมไม่พบว่ามีความผิดปกติใดๆ เลย ทำไมเจ้าตูบของผมจึงเป็นอย่างนั้น" เหล่านี้เป็นคำถามที่สัตวแพทย์ได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ อาการของโรคหู สุนัข หรือแมวที่มีอาการของโรคในช่องหูเราอาจจะพบว่าอาการเหล่านี้ได้
· มีกลิ่น ·
มีการเกาหู หรือเอาหู (หัว) ไปถูกับวัตถุ
· มีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากช่องหู
· ช่องหู หรือใบหูมีสีแดง หรือบวม
· มีการสั่นหัว หรือเอียงหัวไปด้านใดด้านหนึ่ง
· มีอาการเจ็บรอบๆหู
· มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น ซึม หรือหงุดหงิด
โรคของช่องหูเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากที่สุดในสัตว์เลี้ยง (ทั้งสุนัขและแมว) ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบของช่องหูภายนอกที่เรียกว่า "otitis externa" ปัญหาช่องหูอักเสบพบได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนสุนัขทั้งหมด จากการศึกษาสถิติการพบปัญหาช่องหูอักเสบในแมวพบได้ประมาณ 2 - 6.6 เปอร์เซ็นต์
สาเหตุของการเกิดช่องหูอักเสบ
ปัญหาโรคช่องหูสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เมื่อเราพบว่าสัตว์เลี้ยงของเรามีปัญหาโรคของช่องหู สิ่งที่ต้องคิดถึงและเป็นสาเหตุโน้มนำที่เป็นไปได้ที่ทำให้เกิดปัญหาโรคของช่องหูภายนอกได้แก่ การแพ้ เช่น
· พยาธิภายนอก เช่น ไรในหู
· จุลินทรีย เช่น แบคทีเรีย และยีสต์
· สิ่งแปลกปลอม เช่น เกสรดอกไม้ หรือหนามของพืช
· การได้รับบาดเจ็บ
· มีความผิดปกติของฮอร์โมน
· สิ่งแวดล้อมภายในช่องหูที่ผิดปกติ เช่น มีความชื้นมากเกินไป และความผิดปกติทางกายวิภาคของช่องหู
· มีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือทางภูมิคุ้มกัน และการเกิดเนื้องอก
การรักษา
การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โดยปกติการรักษาสภาพช่องหูให้มีความสะอาดอยู่เสมอจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับสัตว์เลี้ยงของท่าน
การทำความสะอาดหู
หูของสัตว์เลี้ยงมักจะเป็นรูปตัว" L" มากกว่าหูของคนและเศษเนื้อเยื่อ หรือขี้หูจึงมักจะถูกเก็บสะสมอยู่บริเวณมุมของตัว "L" การกำจัดขี้หูที่สะสมในช่องหูสามารถทำได้ด้วยการใส่น้ำยาสำหรับทำความสะอาดหู(น้ำยาที่ดี)ลงไปในช่องหู น้ำยาล้างหูที่ดีควรมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ แต่ไม่ควรใช้วิธีการแทง กระแทกควรบีบนวดบริเวณโคนหูประมาณ 20-30 วินาทีเพื่อทำให้เศษเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มและหลุ่ดออกมา ทำการเช็ดเอาเศษเนื้อเยื่อที่หลุดออกและใช้ก้านไม้ที่พันด้วยสำลีที่ชุบให้ชุ่มไปด้วยน้ำยาทำความสะอาดช่องหู ให้ทำซ้ำๆ กันจนไม่พบว่ามีเศษเนื้อเยื่อ หรือขี้หูหลงเหลืออยู่ในช่องหูอีก ถ้าสภาพภายในช่องหูมีเนื่อเยื่อ หรือขี้หูมาก อาจจะทำความสะอาดตามวิธีดังกล่าววันละ 2 ครั้ง
อาจจะใช้ก้านไม้พันด้วยสำลี หรือ cotton bud ในการทำความสะอาดช่องหู และด้านในของใบหู แต่ไม่ควรแหย่ให้ลึกเข้าไปในช่องหูมากนัก เพราะจะทำให้ขี้หู หรือเศษเนื้อเยื่ออัดกันแน่นภายในช่องหูมากกว่าเป็นการเขี่ยเอามันออกมา สัตว์บางตัวพบมีว่าปัญหาของช่องหูที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความเจ็บปวด การทำความสะอาด หรือขณะให้การรักษาอาจจะมีความจำเป็นต้องทำให้สลบเสียก่อนแต่ในบางครั้งสัตว์จะไม่ยอมให้ทำความสะอาดหูของมัน เพราะมันไม่ชอบ มันรำคาญ เจ้าของจะต้องพูดคุยกับมัน ให้มันผ่อนคลายในระหว่างที่ทำความสะอาดถ้ามันเชื่อฟังควรต้องชมเชย ให้รางวัล หลังจากทำความสะอาดหูแล้ว ปล่อยให้มันสั่น หรือสะบัดหัวได้และปล่อยให้แห้ง หลังจากนั้นจึงค่อยใส่ยาให้
การป้องกันโรคหู
หัวใจที่สำคัญในการทำให้ช่องหูมีสุขภาพดีคือ ความสะอาด ควรตรวจสอบช่องหูของสัตว์เลี้ยงของท่านทุกสัปดาห์ การพบว่ามีขี้หูเพียงเล็กน้อยถือว่าเป็นสิ่งปกติถ้าสัตว์เลี้ยงชอบเล่นน้ำมาก หรือมีใบหูยาวห้อย หรือมีประวัติโรคของช่องหู แนะนำให้ทำความสะอาดช่องหูเป็นประจำ(2-3 ครั้งต่อสัปดาห์) ด้วยวิธีการดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ถ้ารอบๆ ช่องหูมีขนยาวมาก ให้ตัดให้สั้น เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การรักษาโรคของช่องหูควรรักษา หรือกำจัดสาเหตุของโรค ซึ่งเป็นเหตุโน้มนำทำให้เกิดปัญหาของช่องหูจึงจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด พึงระลึกไว้เสมอว่าถ้าสัตว์เลี้ยงของท่านรู้สึกไม่สะดวกสะบายกระวนกระวายอย่างมากแสดงให้เห็นช่องหูมีกลิ่นเหม็นมากหรือช่องหูมีความผิดปกติไม่ควรรีรอที่จะนำมันมาพบสัตวแพทย์ถ้าเยื่อแก้วหูของสัตว์เลี้ยงของท่านเกิดความเสียหายการใช้ยาบางชนิดหรือน้ำยาทำความสะอาดช่องหูบางชนิดอาจจะเป็นอันตรายมากกว่าเป็นการรักษาดังนั้นจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์
(คัดลอกมาจาก สะบัดทอค กับ ช๊อปสะบัด)