...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช...(กิจกรรทความรู้รอบตัว)ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี..

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคเลปโตสไปโรซิส (โรคฉี่หนู)

โรคเลปโตสไปโรซิส (โรคฉี่หนู)
lepto
โรคเลปโตสไปโรซิส คืออะไร?
เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคฉี่หนู ติดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด ส่วนมากสัตว์ที่ไวต่อการรับเชื้อมักจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุน้อย หรือลูกสัตว์ที่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อน เช่น หนู โค กระบือ สุกร แพะ แกะ และสุนัข เป็นต้น

สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร?lepto

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ เลปโตสไปรา (Leptospira) มีลักษณะเป็นเส้นเกลียวยาว ปลายโค้งงอคล้ายตะขอ เคลื่อนไหวรวดเร็ว โดยการหมุนหรือโค้งงอ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่ก่อให้เกิดโรค และ กลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เชื้อนี้จะมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้น เช่นในดิน โคลน แอ่งน้ำ ที่มีค่า pHปานกลาง หรือค่อนไปทางด่างเล็กน้อย (pH7.2 - 8.0) เชื้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนที่อุณหภูมิประมาณ 28 –32 องศาเซลเซียส และจะไม่สามารถเติบโตได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 7 – 10 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 34 – 36 องศาเซลเซียส
การระบาดของโรคเป็นอย่างไร?
พบโรคฉี่หนูนี้ได้ทั่วโลกยกเว้นเขตขั้วโลก ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งในเขตเมืองและชนบท เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่เกิดในสัตว์ได้หลายชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งรังโรคที่ปล่อยเชื้อมาจากปัสสาวะ โดยอาจติดโรคโดยตรงจากการสัมผัสปัสสาวะหรือจากสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อ ในเขตหนาวมักจะพบโรคมากในฤดูอบอุ่น ในเขตร้อนชื้นเกิดโรคได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว
โรคนี้สามารถติดต่อได้อย่างไร?
1. เชื้อสามารถไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน เยื่อบุต่างๆ เช่น ตา และปาก นอกจากนี้ยังสามารถไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนานๆ
2. การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
3. การหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะ หรือที่เกิดจากของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
4. การสัมผัสกับเชื้อจากสิ่งที่ขับออกมากับลูกสัตว์ที่แท้ง หรือ ลูกตายแรกคลอด
โรคเลปโตสไปโลซิสในคนlepto
ระยะฟักตัว 2 - 30 วัน (เฉลี่ย 10 วัน)อาการในคนอาจแตกต่างกันออกไป อาจมีอาการอย่างอ่อนจนถึงขั้นรุนแรง ขึ้นกับชนิดและปริมาณของเชื้อที่ได้รับ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง (มักปวดที่น่อง, โคนขา, กล้ามเนื้อหลัง และท้อง) ตาแดง อาจมีไข้ขึ้นลงสลับติดต่อกันหลายวัน ในรายที่รุนแรง พบว่ามีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีผื่นที่เพดานปาก โลหิตจาง มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ ตับและไตวาย ดีซ่าน อาการที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้ความรู้สึกสับสน เพ้อ ซึม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจ ไอมีเสมหะ อาจมีเลือดปน และเจ็บหน้าอก
การทำลายเชื้อทำได้อย่างไร?
เชื้อจะตายได้ เมื่อ
- ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) สูงกว่า 8.0 หรือต่ำกว่า 6.5
- ความเค็ม เช่น น้ำทะเล
- ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที หรือ 70 องศาเซลเซียส 10 วินาที และแสงแดดสามารถทำลายเชื้อได้
- ความแห้งสามารถทำลายเชื้อได้ ในพื้นดินที่แห้ง เชื้อจะตายในไม่กี่ชั่วโมง
- น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ไอโอดีน คลอรีน และน้ำยาทำความสะอาด (Detergents) รวมทั้งสบู่สามารถฆ่าเชื้อได้
การป้องกันตนเองไม่ให้เป็นโรคเลปโตสไปโรซิสได้อย่างไร?
- หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปล่อยค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด เป็นต้น
- หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า ให้มิดชิดขณะต้องทำงานสัมผัสน้ำ ดิน โคลน หรือในที่ชื้นแฉะ หากไม่มีชุด ป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานานๆ และเมื่อเสร็จงานแล้วควรรีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็ว
- ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารดิบหรือผักสดที่เก็บมาจากท้องทุ่งนา หรือในที่ที่อาจปนเปื้อนฉี่หนู หรือปัสสาวะของโค กระบือหรือสุกร เป็นต้น

อาการในสัตว์lepto

อาการของโรคจะไม่ค่อยรุนแรง โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้

- สัตว์จะไม่ค่อยแสดงอาการป่วย
- มักพบอาการผิดปกติ ในสัตว์ตั้งท้องเป็นส่วนใหญ่
- สัตว์ป่วยจะมีการแพร่เชื้อทางปัสสาวะค่อนข้างนาน
ระยะเฉียบพลัน
อาการเริ่มต้นของโรคเลปโตสไปโรซิสในสัตว์ที่ป่วยระยะเฉียบพลันจะคล้ายคลึงกัน และไม่มีลักษณะเฉพาะ อาการที่พบคือ มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร เยื่อบุตาอักเสบ อาการอื่นนอกจากนี้ส่วนใหญ่จะมีอาการ อาเจียน ท้องเสีย ชัก มีเลือดออก ซีด ดีซ่าน มีอาการทางระบบประสาท ตับโต ไตล้มเหลว แท้ง ตายแรกคลอด และเต้านมอักเสบในช่วงท้ายๆ ของระยะเฉียบพลัน
ระยะเรื้อรัง
เชื้อจะไปอยู่ที่ไต ทำให้ไตอักเสบ มักพบในสัตว์ที่ผ่านระยะเฉียบพลันไปแล้ว โดยอาจแสดงหรือไม่แสดงอาการป่วย เชื้อจะถูกขับออกมาจากปัสสาวะ เชื้อในระยะนี้ตรวจพบและวินิจฉัยได้จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพราะสัตว์จะไม่แสดงอาการให้ทราบlepto



ที่มา.....ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จ.ขอนแก่น

สารพิษในพืชอาหารสัตว์ (เคี้ยวเอื้อง)

นสพ.ดร. สาทิส ผลภาค
ในช่วงต่อระหว่างฤดูแล้งกับฤดูฝน นอกจากภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิ และความชื้น ซึ่งมีผลกระทบทำให้เกิดความเครียดในตัวสัตว์แล้ว หญ้าอาหารธรรมชาติที่เหี่ยวแห้งในฤดูร้อนก็จะเริ่มแตกใบอ่อน จากการได้รับน้ำฝนในช่วงนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ โค-กระบือกินหญ้าอ่อนซึ่งมีมากในช่วงดังกล่าวได้มากขึ้นจนอาจเกิดภาวะท้องอืด (bloat) ได้ นอกจากนี้ถ้ามีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (ยูเรีย) ในแปลงหญ้าในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งจะทำให้พืชดูดซึมเอาธาตุไนโตรเจนจากดินไปสะสมเป็นไนเตรทในลำต้นและใบอย่างรวดเร็วอีกด้วย เช่นเดียวกับการสะสมไซยาไนด์ในพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง ถ้ามีการปล่อย โค-กระบือ ไปกินหญ้าในช่วงนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษจากทั้งสารไนเตรท และไซยาไนด์ที่สะสมในต้นพืชดังกล่าว จนทำให้สัตว์ตายจากภาวะการขาดอ๊อกซิเจนในเลือด (hypoxia) อาการที่มักพบในสัตว์คือ ท้องอืด กระวนกระวาย กล้ามเนื้อสั่น หายใจขัด ถ้าเปิดปากดูเหงือกจะพบเหงือกมีสีม่วงคล้ำ (cyanosis) การแก้ไขในสัตว์ที่แสดงอาการแล้วมักไม่ได้ผล เนื่องจากว่าสัตว์จะขับสารพิษที่มีอยู่ในหญ้าสดที่กินเข้าไปสะสมอยู่ในกระเพาะหมัก (rumen) ต้องใช้ระยะเวลานานหลายวัน ระหว่างนั้นพิษที่อยู่ในหญ้าจะถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิตไปเรื่อย ๆ


ต้นมันสำปะหลัง



ต้นไมยราบไร้หนาม


 หญ้าดอกขาว


โคกินมันสำปะหลัง



มันสำปะหลังสดในกระเพาะโค


เหงือกที่มีม่วงคล้ำ
การแก้ความเป็นพิษโดยการใช้สารต้านพิษ (antidote) ต้องสอบประวัติและอาการสัตว์จากเจ้าของสัตว์เพื่อแยกกลุ่มของสารพิษว่าเป็นในกลุ่มไซยาไนด์ หรือไนเตรท ให้ชัดเจนก่อน เพื่อจะใช้ยาต้านพิษได้ถูกต้อง ประเภทของยาต้านพิษมี 2 ชนิดคือ
1. พิษจากไซยาไนด์ การแก้พิษให้ใช้สารละลาย sodium nitrate 20% ผสมกับ sodium thiosulfate 20% ในอัตราส่วน 1:3 ฉีดเข้าเส้น (IV) ในขนาด 4 มล./น้ำหนักสัตว์ 45 กก.
2. พิษจากไนเตรท การแก้พิษให้ใช้ methylene blue ขนาด 4-5 มก./น้ำหนักสัตว์ 1 กก. แล้วทำให้มีความเข้มข้น 2-4 % ฉีดเข้าเส้น (IV)

โรคที่สำคัญของช้าง

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis
อาการ ช้างป่วยจะมีอาการค่อนข้างรวดเร็ว คือล้มลงและตายทันที อาการที่ไม่รุนแรง คือ เบื่ออาหาร ไข้สูง ผุดลุกผุดนั่ง มีเลือดออกตามเยื่อบุผิว มีอาการบวมใต้หนัง อุจจาระปนเลือด ตายอย่างรวดเร็ว ห้ามเปิดผ่าซากโดยเด็ดขาด ควรจะเผาหรือฝังลึกๆ โรยด้วยปูนขาว ป้องกันสัตว์มาคุ้ยเขี่ย และควรสวมถุงมืออย่าให้เลือดสัตว์ถูกมือ
การรักษา ให้ยาปฎิชีวนะ
การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ในแหล่งที่มีโรคระบาด________________________________________

โรคโลหิตจาง (Anemia)
โรคโลหิตจางมักเกิดในลูกช้าง เนื่องจากขาดธาตุเหล็กหรือมีพยาธิ รักษาโดยให้ Iron-dextran และให้อาหารเสริมซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบต่ออีกระยะหนึ่ง

________________________________________

โรคโคไลแบคซิลโลซิส (Colibacillosis)
โรคนี้มักพบในลูกช้างที่เกิดใหม่ที่ไม่ได้รับ Colostrum เพียงพอ หรือช้างรุ่นๆ ที่ได้รับอาหารสกปรกหรืออยู่ในโรงเรือนที่ขาดสุขลักษณะที่ถูกต้อง

สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Escherichia coli

อาการ มีไข้สูง เบื่ออาหาร ท้องเสียและขาดน้ำอย่างรุนแรง

การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ และ Supportive ตามสมควรร่วมด้วย

________________________________________

โรคท้องร่วง (Diarrhoea)
โรคท้องร่วง ท้องเสีย หรือท้องเดิน หมายถึง ภาวะที่ช้างมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อย อุจจาระเหลวมากกว่าปกติหรือถ่ายเป็นน้ำ เป็นมูกหรือมูกเลือด โรคนี้จะพบมากในลูกช้างและมักมีอาการรุนแรง
สาเหตุ

1. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Salmonella spp., E. coli, Pseudomonas spp., และ Clostridium spp.

2. เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสที่เคยตรวจพบจากอุจจาระของช้างที่ถ่ายเหลว ได้แก่ Crona virus

3. เกิดจากหนอนพยาธิหรือโปรโตซัว ช้างที่แสดงอาการถ่ายเหลวที่มีสาเหตุจากหนอนพยาธิ ส่วนมากมักเป็นแบบเฉียบพลัน บางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด เป็นต้น หนอนพยาธิที่พบในช้างคือ Strongyle, Protozoa, Coccidia, Eimeria, Flagellates และ Trichomona นอกจากนี้ยังอาจพบ Giardia และ Hookworm

________________________________________

เอ็นเทอโรท็อกซีเมีย (Enterotoxemia)

โรคนี้เคยมีรายงานว่าทำให้ช้างตายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช้างรุ่นๆ ที่ไปกินอาหารสกปรก มีการปนเปื้อนของเชื้อเข้าไป

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Clostridium perfringens ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิด anaerobic bacteria

อาการ กระสับกระส่าย เบื่ออาหาร ท้องร่วงและตาย โดยเฉพาะลูกช้างจะตายง่ายมาก

การวินิจฉัย โดยการเพาะเชื้อและจำแนก toxin ในห้องปฏิบัติการ

การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับ antitoxin และรักษาตามอาการ

การป้องกัน ในต่างประเทศโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน

________________________________________

โรคเยื่อตาอักเสบ (Conjunctivitis)

ช้างบ้านมีปัญหาเกี่ยวกับตาค่อนข้างจะรุนแรงมาก อาจมีผลทำให้ช้างตาบอดได้

สาเหตุ

- ผงสกปรกเข้าตา ทำให้ระคายเคือง ถ้ามีเชื้อโรคเข้าตาก็จะทำให้ตาอักเสบลุกลามรุนแรง ตั้งแต่ตาแดง เยื่อตาฝ้าจนถึงขั้นตาบอด

- ลูกตา ถูกหญ้าบาดหรือของแหลมคม เช่น หนามทิ่มแทงหรือถูกก้อนหิน หนังสะติ๊กยิงถูกลูกนัยน์ตา เกิดเป็นแผลหรือลูกตาแตก

- เกิดจากการแพ้ เนื่องจากสุขภาพอ่อนแอ ป่วย มีไข้สูง ทำให้เยื่อตาอักเสบ

อาการ น้ำตาไหล ตาแดงและอักเสบ หลับตาบ่อย มีขี้ตาและอาจใช้งวงขยี้ตาบ่อยๆ เนื่องจากมีอาการระคายเคืองหรือเจ็บคันนัยน์ตาและมักจะหลบ ซุ่มอยู่ใต้ร่มไม้ ไม่กล้ามองสู้แสงแดด หากไม่รักษา ปล่อยไว้จะเกิดเป็นเยื่อตาฝ้าและถึงขั้นตาบอด

การักษา

- นำช้างตาเจ็บไปผูกไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดดจ้ามากนัก

- ล้างตาด้วยน้ำยาบอริค 1% หรือน้ำยาโซเดียม ไบคาร์บอเนต แล้วป้ายด้วยขี้ผึ้งป้ายตา (จำพวกยาปฏิชีวนะ Terramycin, Kemicitin อย่างเดียวหรือไม่ cortisone ด้วย) ถ้าลูกตาอักเสบรุนแรงก็จำเป็นต้องฉีด Dexamethasone เข้า subconjunctiva ในลูกตาช้าง แต่ต้องฉีดจากผนังตาด้านนอก โดยฉีดเฉียงและอาจให้ Vitamin A เสริมในรายที่ขาด Vitamin A ด้วย (ในกลุ่มควาญช้างนิยมใช้ยาสีฟันป้ายลูกตาเพื่อรักษาโรคตาอักเสบ)

________________________________________

โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth disease)
ช้างเป็นโรคนี้ได้โดยติดจากโค กระบือ
สาเหตุ เชื้อไวรัส

อาการ มีลักษณะอาการเช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ ที่เป็น คือ ฝ่าเท้าและเล็บลอกหลุด เจ็บเท้า เดินไม่ค่อยได้ มีแผลที่เพดานปาก กินอาหารลำบาก มีไข้

การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะควบคุม Secondary infection และใส่แผลด้วยยา gentian violet หรือให้สารอาหารบำรุงต่างๆ ช้างจะสามารถหายได้เอง

การป้องกัน ฉีดวัคซีนให้โค กระบือ ในบริเวณที่เลี้ยงช้าง

________________________________________

โรคคอบวม (Haemorrhagic septicemia or Pasteurellosis)

โรคคอบวม โรคนี้มักเกิดในช้างที่เลี้ยงในแหล่งที่มีโค กระบือ ถ่ายอุจจาระลงแหล่งน้ำ ถ้ามีโรคนี้เกิดก็อาจติดมาถึงช้างได้

สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Pasteurella spp.

อาการ ช้างป่วยกระทันหัน บริเวณลำคอบวมน้ำ ลิ้นและปากบวม หายใจลำบาก น้ำลายไหลยืด บางครั้งมีอาการท้องผูก อุจจาระมีมูกเลือด โรคนี้ถ้าเป็นในลูกช้างจะมีอัตราการตายสูงกว่าในช้างที่โตเต็มที่แล้ว ถ้ารีบรักษาก่อนอาการลุกลาม โอกาสรอดตายสูง

การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ หรืออาจใช้ยาซัลฟา

การป้องกัน ฉีดวัคซีน 2 ซีซี./เชือก เข้ากล้ามเนื้อลึก ปีละ 1 ครั้ง ควรมีการตรวจสุขภาพอย่างน้อยเดือนละครั้ง

________________________________________

โรคฝีดาษ (Elephant pox)

โรคนี้เคยระบาดในช้างคณะละครสัตว์ในยุโรป ช้างป่วย 11 เชือก ตาย 1 เชือก จากจำนวนช้างทั้งหมด 18 เชือกที่มีอยู่

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส

อาการ เกิดเป็นตุ่มตามผิวหนัง ซึ่งรุนแรงถึงตายได้ ในช้างจะพบตุ่มตามศีรษะและงวง เยื่อตาอักเสบ (Conjunctivitis) และบวม มีของเหลวไหลจาก temporal gland มีรายงานว่า กรฝักตัวของโรคใช้เวลา 2 - 4 อาทิตย์ มี erosion & ulceration ของ mucous membranes กลืนอาหารลำบาก อ่อนเพลีย มีไข้สูง กีบหลุดลอก เจ็บขา (Lameness)

การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะควบคุม Secondary infection

การวินิจฉัย ควรนำน้ำหรือเยื่อในตุ่มแผลส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ

การป้องกัน ควรมีการฉีดวัคซีน small pox ให้ทั้งช้างและคนที่เกี่ยวข้องเนื่องจากเป็นโรคติดต่อคนได้

________________________________________

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

ช้างอาจติดโรคพิษสุนัขบ้าได้จากการที่ถูกสุนัขบ้ากัด

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส

อาการ มีอาการเหมือนกับสุนัขบ้าทุกประการ คือ ช่วงแรกจะมีอาการเซื่องซึม ชอบอยู่ในที่มืด กินอาหารได้บ้าง ระยะต่อมาจะมีอาการทุรนทุรายมากขึ้น ตาเหม่อลอย เห็นคนหรือสัตว์ก็จะทำราย ต่อมาขากรรไกรแข็งเป็นอัมพาต กินอาหารและน้ำไม่ได้และตายในที่สุด เมื่อถูกสุนัขบ้ากัดใหม่ๆ ให้ใช้กรดไนตริคหรือโซดาไฟจี้ที่บาดแผลแล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน จะช่วยได้บ้าง

การรักษา ไม่มี

การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขในบริเวณที่มีการเลี้ยงช้าง

________________________________________

โรคซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis)

มีรายงานว่าช้างเกิดโรคนี้บ่อยและเสียชีวิตจำนวนมากโดยเฉพาะลูกช้าง ถ้าช่วยไม่ทันอาจเสียชีวิตได้

อาการ ท้องร่วง ถ่ายเหลวเป็นน้ำไม่หยุด มีกลิ่นเหม็น มีมูกเลือดและเยื่อบุผิวปน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไข้สูง มักพบในช้างที่อยู่ในโรงเรือนที่ไม่ถูกสุขลักษณะและมักติดต่อไปยังช้างเชือกอื่นๆ

การรักษา

- ให้ยาปฏิชีวนะ

- ให้ Supportive treatment ตามอาการ

- ในลูกช้างควรให้กินข้าวต้ม อาหารบด และกินน้ำมากๆ

________________________________________

โรคผิวหนัง (Skin diseases)

โรคผิวหนังในช้าง ได้แก่

1. Rash เป็นผื่น คัน เป็นอาการแพ้สารพิษ เช่น ถูกพืชมีพิษ ผิวหนังและกล้ามเนื้อบวม จะหายได้เองภายใน 2 - 3 วัน

2. Sunburn ช้างที่ถูกแสงแดดส่องเผาโดยตรงติดต่อกันหลายชั่วโมง ผิวหนังเกิดไหม้เกรียม ผิวหนังอักเสบ ควรให้ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบชนิดครีมทาบริเวณผิวหนัง

3. Dermatitis โรคผิวหนังอักเสบและมีการติดเชื้อ ผิวหนังพุพองจากการคัน และเกาถู เกิดเป็นประจำกับช้างบ้านที่ขาดการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร ร่างกายสกปรก ไม่ได้อาบน้ำ ผิวหนังแห้งเป็นขุยหรือถูกแมลงต่างๆ รบกวน เช่น

- เหลือบ (Tabanus) มีชุกชุมอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในหน้าฝน จะดูดกินเลือดและจะเป็นพาหะนำเชื้อโรค surra มาสู่ช้างได้

- แมลงวันคอก (Stable flies, stomoxys) ชอบกัดและดูดเลือดช้างตามผิวหนัง

- แมลงวันป่า (Gad flies) จะเอาก้นไชหนังช้างแล้วปล่อยไข่ไว้ ไข่จะเจริญเป็นตัวอ่อน เป็นหนอนหรือชาวบ้านเรียกว่าตัวด้วง เห็นเป็นตุ่มๆ อยู่บริเวณผิวหนังช้าง ซึ่งภายในตุ่มนี้ตัวอ่อนจะจเริญอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วดันทะลุออกจากผิวหนังตกบนพื้นดินเจริญเป็นตัวแมลงวันป่าต่อไป

- เหาแดง เหาช้าง (Elephant louse-Haematomyzus elephantis)

การรักษา

1. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยสบู่หรือยาฆ่าเชื้อโรค

2. กรณีเป็นเชื้อรา ให้กิน Griseofulvin ขนาด 0.5 - 1 mg./kg. หรือ Ketoconzole โดยตรวจดูอาการของสัตว์ประกอบด้วยทุกวัน

3. Supportive tratment

4. ให้กิน Vitamin B complex 10 - 20 tabs/วัน นาน 1 - 5 เดือน

5. ให้ยาตามสมควร เช่น Sulfur ointment, gentian violet, Povidone iodine, Thimerosol tincture หรือ Carbamate powder หรือ Ivermectin solution หรือ Prednisolone cream

6. ถ้าเกิดจากเหาแดงหรือเหาช้าง อาจใช้ Ivermectin? 0.06 - 0.08 mg./kg. ให้กินหรือใช้ Carbamate powder (Negasunt?) โรยแผลหรือใช้มะขามเปียกถูตัวร่วมกับ Neguvon? โดยก่อนทาอาบน้ำก่อน แล้วห้ามอาบตลอด 24 ชั่วโมง

7. อาจใช้เครือสะบ้า (Entada scandams) ทุบให้ละเอียดฟอกช้างทุกวันหลังอาบน้ำแล้วเครือสะบ้าจะเกิดเป็นฟองคล้ายสบู่ ปล่อยทิ้งให้ฟองแห้งไปเอง บางแห่งใช้เครือหางไหล หรือโล่ติ้นทุบแช่น้ำ แล้วใช้ผ้าชุบเช็ดถูตามตัวก็ได้ผลดี

________________________________________

โรคท้องผูกในช้าง

สาเหตุ ส่วนใหญ่จากการกินอาหารที่มีลักษณะที่เป็นเยื่อใย พันกันเป็นก้อนและขวางลำไส้ เช่น ทางมะพร้าวหรือต้นกล้วยทั้งต้น

การรักษา พยายามล้วงสวนทวารด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ หรือน้ำอุ่น โดยใช้ปั๊มเข้าข้างในทวาร เข้าไปมากๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายส่วนที่อุดตันออก

________________________________________

โรควัณโรค (Tuberculosis)

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium spp.

อาการ มักเป็นแบบเรื้อรัง น้ำหนักลดลง ทั้งที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีน้ำมูกไหลตลอดเวลา เบื่ออาหาร ยืนเซื่องซึม ไอเสียงดัง หายใจลำบาก

การวินิจฉัย จากประวัติและอาการทางคลินิค และการเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ ย้อมสีเชื้อ acid fast จาก nasal discharge เพื่อตรวจสอบทางกล้องจุลทรรศน์ให้แน่ชัดด้วย

การรักษา โดยฉีด Isoniazid ซึ่งมีรายงานว่ารักษาได้ผลดี

________________________________________

โรคบาดทะยัก (Tetanus)

โรคบาดทะยักส่วนใหญ่พบในช้างที่ถูกลักตัดงาและตัดชิดจนพบโพรงงา ช้างจะนำดินยัดเข้าโพรงงา เชื้อที่ติดมากับดินเจริญเติบโตได้ดีในโพรงงา ทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ยังพบในช้างที่อยู่ในโรงเรือนที่ไม่ถูกสุขลักษณะและมีบาดแผลเป็นรูลึก

สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani

ช้างจะมีอาการ ซึม กินอาหารและน้ำลำบาก ขากรรไกรแข็ง หายใจลำบาก มีไข้สูง แสดงอาการชัก เกร็งของกล้ามเนื้อ ขาและหาง โอกาสตายสูงมาก

การรักษา

- Penicillin high dose

- Antitoxin 30,000 – 50,000 iu/kg.

- ถ้ามีอาการชักอาจให้ 7% Chloral hydrate .60 gm หรือถ้าให้เข้าทางทวารหนัก จำนวน 2 - 4 ออนซ์

- กรณีที่กินอาหารไม่ได้ ต้องป้อนอาหารเหลวผ่านสายยางเข้าปาก

- แนะนำให้ฉีด Toxoid 4 - 5 ซี.ซี./ครั้ง ภายหลังการรักษา 3 - 4 วัน

การป้องกัน ไม่ควรตัดงาสั้นจนเกินไป เมื่อพบช้างที่ถูกลักตัดงาสั้นเกินไปจนเห็นโพรงงา ให้รับรักษาแผล

________________________________________

โรคติดเชื้อไวรัส

Herpes virus

พบว่าช้างป่าแอฟริกามีอาการของปอดที่ติดเชื้อ Herpes virus จากการผ่าซาก

Encephalomyocarditis virus (ECMV)

เป็นโรคที่มีความรุนแรงทำให้ช้างถึงตายได้ พบทั้งช้างเอเชียและแอฟริกา ที่สวนสัตว์ 3 แห่งในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา มีช้างล้มป่วยด้วยโรค ECMV อย่างเฉียบพลันและตายลง จากการผ่าซากพบว่า มีวิการของปอดบวมและเลือดคั่ง พบ cardiomyopathy ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคนั้นเชื่อว่าเกิดจากเชื้อนี้ติดมากับสัตว์ป่าที่อยู่ในสวนสัตว์ด้วยกัน โรคนี้สามารถติดต่อถึงคนได้แต่เป็นแบบอ่อนๆ หรือไม่แสดงอาการให้เห็น

Coryzalike Syndrome

มีอาการเหมือนคนเป็นหวัด มีน้ำมูกไหลอย่างรุนแรง น้ำตาไหล เบื่ออาหารเล็กน้อย ซึม ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าเกิดจากไวรัสชนิดใด ช้างที่ป่วยถ้ามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ก็จะหายป่วยจากโรคเองได้โดยไม่ต้องมีการรักษาหรืออาจจะให้ยาปฏิชีวนะและยาบำรุงเพื่อป้องกันการเกิดโรคปอดบวมแทรกซ้อน

________________________________________

บาดแผล (wounds)

บาดแผลที่ลำตัว งวงหรือฝ่าเท้า เช่น ถูกมีดหรือเคียวปาดงวง ถูกกระจกหรือแก้วบาดขา ถูกของแหลมตำ เช่น ตะปูหรือเศษแก้วตำหรือแทงเข้าไปในบริเวณฝ่าเท้า

อาการ ที่สังเกตได้คือ ช้างจะเดินไม่ปกติ อาจยกขาหรือมีเลือดไหลออกตามบาดแผลให้เห็นหรือข้อขาบวม ตรวจพบตะปูหรือเศษแก้ว

การรักษา วางยาสลบในท่ายืนหลับในช้างโตหรือท่านอนตะแคงหลับในช้างเล็ก อาจต้องฉีดยาชาเฉพาะที่ช่วย เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน เสร็จแล้วในช้างเล็กควรฉีด Antidote ให้ฟื้นขึ้น ฉีดยาปฏิชีวนะ ทำความสะอาดและใส่ยาใส่แผลตามควรทุกวัน



ฝี (Abscesses)

ฝีที่ผิวหนังจะบวมปูดขึ้นมา ส่วนใหญ่มีลักษณะกลมหรือรี มักพบที่คอ ด้านข้างของขาหน้า กลางหลัง บริเวณหัวเข่าและท่อนขา การเกิดฝีในช้างจะพบบ่อยมาก สาเหตุมักจะเกิดจากการกระแทก ชน ทำให้เกิดฟกช้ำ การถูครูด แผล พยาธิ ซึ่งมีการเสียดสีเป็นเวลานาน หรือเกิดจากการแพ้วัคซีน การฉีดยาผิด route

การรักษา

1. ถ้าฝียังไม่สุก ประคบหรือทาด้วย Tincture iodine ร่วมกับน้ำมันนวดทุกวันจนฝีสุกจึงเจาะหรือบีบหนองออกให้หมด

2. ถ้าแน่ใจว่าฝีสุกดีแล้ว ก็ทำการผ่าเอาหนองออกให้หมด แล้วล้างทำความสะอาดด้วย solution ของ nitrofurazone ผสม dimethylsulfoxide (DMSO) ในอัตรา 2:1 ซึ่งใช้รักษาฝีช้างได้ผลดีหรืออาจล้างด้วย NSS หรือ antiseptic อื่นๆ แล้วจึงทำ Setoning หรือใช้ Bactacin ใส่หรือใส่ยาทิงเจอร์ไอโอดีนหรือ Gentian violet ทุกวัน

________________________________________

โรคพยาธิภายใน

พยาธิภายในของช้างพบในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

1. พยาธิตัวกลม (Nematoda)

Murshida indica, M. falcifera และ M. elephasi

Quilonia renniei, Q. sedecimradiata

Equinurbia sipunculiformis

Decrusia additictia

Choniangium epistomum

2. พยาธิใบไม้ (Trematoda)

Pfenderius heterocaeca

3. พยาธิตัวตืด

Anoplocephala mambriata

นอกจากนี้ยังมี

พยาธิใบไม้ในตับ :- Fasciala jacksoni

พยาธิใบไม้ในลำไส้ใหญ่ :- Psudodiscus hawkesi, P. collinsi

พยาธิในกระแสโลหิต :- Dipetalonema goosi, D. loxodontis, Indofilaria spp., Pattabiramani spp., Schistosoma nairi, Babesia spp., Trypanosoma spp.

พยาธิปากขอ (Hookworm)

โปรโตซัว :- Eimeria spp., Trichomonas spp.



อาการ ถ้าช้างมีพยาธิในลำไส้มาก จะแสดงอาการท้องอืด ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ โรคตับอักเสบ

การรักษา ตามธรรมชาติ เมื่อช้างรู้สึกตัวว่ามีพยาธิรบกวนมากเกินไปแล้ว ช้างก็จะหากินดินปนหญ้าจำนวนเท่าลูกมะพร้าว หลังจากนั้น 1 - 2 วัน ช้างก็จะท้องอืด ตึง แล้วถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ มีพยาธิเป็นๆ ปนออกด้วยติดต่อกันหลายวัน บางตัวอาจนานกว่า 10 วัน ช้างจะมีร่างกายซูบผอมลง อ่อนเพลีย แต่จะรู้สึกสบายตัวขึ้น แล้วช้างจะหาวิธีแก้ท้องร่วงเอง โดยจะหากินเครือกระวัลย์และเปลือกต้นหว้าหรือเปลือกอินทรีย์หรือกระโดน แล้วช้างจะเกิดความอยากกินอาการ กินจุ ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสังเกตเบื้องต้นพบว่าช่วงเวลาที่ช้างจะมีการถ่ายท้องขับพยาธิ คือ ช่วงเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม และช่วงเดือนกันยายน-เดือนพฤศจิกายน

- อาจให้ยาถ่ายพยาธิรวมคือ Ivermectin ขนาด 8 - 10 c.c/ตัว ฉีดเข้าใต้หนังแต่ถ้าตรวจพบพยาธิใบไม้ ก็ใช้ Ivermec?-F ซึ่งสามารถถ่ายพยาธิตัวอื่นๆ ด้วย

- ยากินที่ใช้รักษาโรคพยาธิภายในของช้างมีหลายชนิด ได้แก่ Thiabendazole, Abendazole, Fenbendazole, Mebendazole, Nitrozanil (Trodax?) และ Tetramisole

________________________________________

โรคลมชักหรือโรคลมแดด (Heatstroke)

สาเหตุ เกิดเนื่องจากปล่อยช้างอยู่กลางแดดนานเกินไป สัตว์จะมีอาการยืนซึม ไม่กินอาหาร เดินเซ หายใจหอบ ล้มลงทันทีทันใด

การรักษา

- ถ้าช้างอยู่ในท่านอนคว่ำ ให้พลิกอยู่ในท่านอนตะแคง หาที่ร่มให้ เช่น ใต้ต้นไม้ กางผ้าใบให้ ใช้น้ำเย็นใส่เข้าทางก้น ใช้น้ำแข็งวางที่ด้านหน้าและหัว ฉีดน้ำเย็นให้ทั่วตัว

- ให้ Prednisolone 0.05 - 0.1 mg./kg. เข้าทางหลอดเลือดดำหรือ Dexamethasone 0.05 - 0.1 mg./kg. เข้าหลอดเลือดดำ

- เมื่อช้างยืนได้แล้วอย่าให้ล้มลงไปอีก ควรประคองไว้

- ให้ Steroid และ Antibiotics 2 - 5 วัน

- ให้ผูกช้างไว้ในที่ร่ม จนกว่าอาการจะเป็นปกติ

________________________________________

สัตว์มีพิษกัดต่อย

ช้างถูกสัตว์มีพิษกัด ต่อย เช่น แตน ต่อหัวเสือ มดตะนอย ตะขาบ งูพิษ

การรักษา

- ฟอกสบู่ทำความสะอาดบาดแผลที่บวม

- ถ้าเป็นแผลที่กระจกตาให้ใช้น้ำเกลือ (NSS) ล้าง ทายา Antihistamine cream ให้ยาปฎิชีวนะร่วมกับ Antihistamine

- ช้างที่ถูกงูพิษกัด มักจะแก้ไม่ทันและมักตายเพราะส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตอนกลางคืน เมื่อช้างอยู่ในป่าและจะทราบตอนช้า การแก้ไขเบื้องต้นเมื่อทราบว่าถูกงูพิษกัด คือ กรีดบาดแผลให้กว้าง ล้างด้วยน้ำสะอาด ใช้น้ำด่างทับทิม 1% ชะล้างแผลและถ้ารู้ชนิดของงูที่กัด อาจใช้เซรุ่มแก้พิษงูเพื่อช่วยชีวิตช้างได้
________________________________________

ปัญหาของงาช้าง (Tusk problem)

ช้างพังมีงาหรือช้างพลาย ตามชีวิตธรรมชาติของช้างจะมีพฤติกรรมที่จะต้องถูงากับเสาหรือพื้นดินเป็นประจำ เพื่อถูหรือลับให้ปลายงาช้างแหลมและงาไม่ยาวเร็วเกินไป ซึ่งงาสองข้างของช้างตัวเดียวกัน อาจจะสึกไม่เท่ากัน ปัญหาของงาช้างที่พบเสมอๆ คือ

1. ปลายงาช้างแตก ถ้าร่องแตกลึกมากและลุกลามไปในโพรงงา ส่วนที่มีเนื้ออ่อน อักเสบและติดเชื้อ การรักษาลำบากควรมีการตัดแต่งงาป้องกันรอยแตกร้าว

2. ปัญหาจากการถูกลักตัดงา บางครั้งตัดถึงโคนงา ทำให้เลือดไหลไม่หยุด อาจถึงตายได้ แต่แม้เลือดจะหยุด ก็เกิดการอักเสบและติดเชื้อลุกลามเข้าไปในโคนงา มีหนอง ซึ่งรักษาไม่ค่อยหายขาด มักจะมีการอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง นอกจากงาจะหลุดออกหรือบางรายอาจติดเชื้อ บาดทะยักและตายได้ จึงควรป้องกันด้วยการตัดงาช้างให้มีความยาวพอเหมาะและระวังเรื่องความสะอาด

ตามปกติ งาช้างจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ส่วนที่ 1 คือ ส่วนโคนงาซึ่งฝังอยู่ในกล้ามเนื้อและกระดูกศีรษะ ส่วนที่ 2 และ 3 คือ ส่วนที่โผล่พ้นหนังแก้มจนถึงปลายแหลมของงา ซึ่งถ้าแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน ส่วนที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนตรงกลางของงา ภายในงาในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 จะเป็นโพรงมีเนื้ออ่อน ซึ่งมีเส้นเลือดและประสาทหล่อเลี้ยงอยู่ ดังนั้น การตัดงาควรตัดเฉพาะส่วนที่ 3 ก็จะไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง

การป้องกัน เมื่อพบช้างถูกตัดงาช้างสั้นเกินไปจนเห็นโพรงงา ควรให้ยาปฏิชีวนะทำความสะอาดโพรงงาและทำวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ในช่วงแรกที่ถูกตัดงา อาจจะใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์อุดโพรงงาแบบชั่วคราวไว้ 6 เดือนถึง 1 ปี หรือจนไม่มีการติดเชื้อ จึงอุดแบบถาวรด้วยปูนปลาสเตอร์
............................
โคกินปุ๋ยยูเรีย
เกษตรกรแจ้งโคกินปุ๋ยยูเรีย ชักจะตายแล้วให้ปศุสัตว์ไปรักษาให้หน่อย

ในรอบปีหนึ่งๆมักจะได้รับแจ้งจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ว่าโค กระบือป่วย ชัก น้ำลายฟูมปาก ตาย เหมือนกินยาพิษ ส่วนใหญ่ แอบไปกินปุ๋ยยูเรียที่เตรียมไว้ใส่แปลงพืช หรือสวนผลไม้ อาจจะเป็นแบบผสมน้ำแล้วนำเป็นถัง หรือไปใส่สวนแล้วไม่หมดถังทิ้งไว้จะด้วยรู้เท่าไม่ถึงหรือลืมเก็บก็แล้วแต่ โค กระบือ หิวน้ำก็ไปกิน ก็ไม่รู้จักนี่ว่าเป็นน้ำหรือมีสารพิษอะไรตามประสาสัตว์ กินไปเต็มๆ หรือบางที่ชื้อมายังไม่ทันจะใช้เอาแขวนไว้ วัวที่ตัวโต เลียถึงนึกว่าเกลือก็คาบเอาลงมากินหากว่ากินมากๆ

อาการแพ้แสงในโค-กระบือ (Photosensitisation)

ในช่วงต้นฤดูฝน วัชพืชบางชนิดที่ขึ้นปะปนมากับหญ้าธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดปัญหาการแพ้แสงในโค-กระบือได้ อาการที่พบคือ โค-กระบือจะแสดงอาการผิวหนังอักเสบ บวม พองและลอกหลุดเป็นแผ่น ๆ ส่วนใหญ่วิการที่พบจะเกิดบริเวณที่มีผิวหนังเปราะบาง เช่นเต้านม ใบหู ขอบตาและมักพบในกลุ่มสัตว์ที่มีอายุน้อย เนื่องจากสัตว์กลุ่มดังกล่าวมักขาดประสบการณ์การเลือกกินวัชพืชเหล่านี้





การแก้ไขทำได้โดยการฉีดยาปฏิชีวนะกลุ่ม pen-strep ยาแก้อักเสบ (Dexamethesone) และยาแก้แพ้(Chlophenilamine) ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอาการจะหายได้ใน 1 อาทิตย์ ทั้งนี้ควรต้องเก็บสัตว์ขังคอกในช่วงที่มีแดดร้อนร่วมด้วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจได้แค่การตรวจวัดค่า Bilirubin ในซีรั่มสัตว์ป่วย พบว่าค่าดังกล่าวจะมีค่าสูงกว่าปกติมากเนื่องจากการแพ้แสงเป็นผลต่อเนื่องจากการเกิดการอักเสบของตับโดยตรง
ที่มาข้อมูล...นสพ.ดร.สาทิส ผลภาค
http://www.dld.go.th/vrd_ne/web/?do=center

อาการแพ้แมลงในโคเนื้อ


เอื้อเฟื้อภาพประกอบ : สพญ.อรุณพรรณ ดุงสูงเนิน (ศวพ. สุรินทร์)

ในช่วงฤดูฝนจะพบปริมาณของแมลงดูดเลือดหลายชนิด เพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากแมลงเหล่านี้จะดูดเลือดก่อความรำคาญต่อสัตว์แล้ว ยังอาจเป็นพาหะนำโรคพยาธิในเลือดหลายชนิดเช่น เชื้อ Trypanosoma evansi , Anaplasma marginale ได้อีกด้วย บางครั้งการกัดของแมลงนี้ยังทำให้สัตว์แสดงอาการแพ้เป็นตุ่มบวมนูนที่ผิวหนังตามลำตัว ถ้าเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงจะทำให้ต่อมน้ำเหลืองใต้ผิวหนังบวมโตและติดเชื้อเป็นหนองอีกด้วย
การป้องกันอาจช่วยได้ด้วยการทำมุ้งครอบคอกสัตว์ ร่วมกับการใช้ยาฆ่าแมลงพ่นบริเวณลำตัว ในช่วงที่พบว่ามีจำนวนแมลงชุกชุม เมื่อพบสัตว์มีอาการแพ้ดังกล่าวควรใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม pen-strep ฉีดร่วมกับยาแก้แพ้ (Chlophenilamine)
ที่มาของข้อมูล.....น.สพ.ดร.สาทิส ผลภาค

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คุณค่าไข่

กรมอนามัย ยัน อย่ากลัวไข่จนเกินเหตุ พร้อมแนะกินอย่างฉลาดได้คุณค่าอาหารเพียบ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยไข่ให้คุณค่าสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ แต่ต้อง
บริโภคในปริมาณเหมาะสมตามแต่ละวัย ร่วมกับอาหารประเภทอื่น ๆ ที่หลากหลายครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้อ
ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดไขมันส่วนเกินและควบคุมระดับโคเลสเตอรอลให้เป็น
ปกติ
นายแพทย์สมยศ เจริญศักดิ์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงกรณีผลการศึกษาวิจัยของสำนักงาน
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติที่ระบุว่าคนวัยทำงานสุขภาพดีสามารถบริโภคไข่ได้ทุกวัน ไม่เพิ่มโคเลสเตอรอลและไม่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ว่า ตลอดระยะที่ผ่านมาไข่นับเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่า หาได้ง่าย และเหมาะสำหรับทุกเพศวัย และการปรุงอาหารประเภทไข่ก็ทำได้ง่ายและหลากหลายสารพัดเมนู โดย
นอกจากจะให้สารอาหารประเภทโปรตีนแล้ว ยังมีไขมัน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินบี 12 วิตามินเอ และวิตามินดี ทั้งนี้ การบริโภคไข่เพื่อให้ได้คุณค่านั้น ตัวแปรด้านกลุ่มวัยต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะควบคุมให้การบริโภคไข่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งกรมอนามัยได้กำหนดในโภชนบัญญัติ 9 ข้อ ให้เด็กตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจนถึงเด็กวัยเรียนควรมีการบริโภคไข่ได้วันละ 1 ฟอง ส่วนผู้ใหญ่ที่มีภาวะร่างกายปกติควรบริโภคไข่ 3-4 ฟอง / สัปดาห์ และหากเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคที่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มี
โคเลสเตอรอลสูง ก็ควรบริโภคไข่เพียง 1 ฟอง / สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์นายแพทย์สมยศ กล่าวต่อไปว่า การบริโภคไข่อย่างชาญฉลาดที่ทำให้ร่างกายได้รับ
สารอาหาร ที่หลากหลาย มีปริมาณสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไม่เป็นการเพิ่ม
สารอาหารที่ก่อให้เกิดโรคทางภาวะโภชนาการนั้น ผู้บริโภคควรบริโภคอาหารที่หลากหลายในแต่ละ
มื้อ โดยให้มีอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ และอาหารประเภทต่าง ๆ ครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่
เหมาะสม นอกจากนี้ กากใยอาหารที่ได้รับจากการบริโภคผักและผลไม้ จะช่วยดูดซับไขมันบางส่วนที่อยู่ในอาหารออกจากร่างกาย ทำให้ไม่เกิดการสะสมที่อาจส่งผลทำให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ตามมาด้วย
“การหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายมีโคเลสเตอรอลสูงไม่ได้อยู่ที่การลดหรืองดบริโภคไข่ แต่ผู้บริโภคต้องมี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ควบคู่กับการหมั่นออกกำลังกายเป็น
ประจำ จะช่วยลดไขมันส่วนเกินและควบคุมระดับโคเลสเตอรอลให้เป็นปกติ อีกทั้งควรมีการตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ต้องตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อควบคุมและป้องกันปริมาณส่วนเกินของไขมันในเลือด โคเลสเตอรอล ได้อย่างทันท่วงที และที่สำคัญยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดที่ระบุว่าไข่คือสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
ที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
 ...........................
กรมอนามัย เผย “ไข่” ยอดอาหารสำหรับทุกเพศทุกวัย
โฆษกกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าจากการที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนบริโภคไข่เพิ่มนั้นนับเป็นสิ่งที่ดี เพราะไข่นอกจาก
เป็นอาหารที่อุดมด้วยคุณค่าแล้ว ยังมีวิตามินเอด้วย
นายสง่า ดามาพงศ์ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนบริโภคไข่เพิ่มนั้น
นับเป็นสิ่งที่ดีเพราะไข่นอกจากเป็นอาหารที่อุดมด้วยคุณค่าแล้วยังมีวิตามินเอด้วยนอกจากนี้ไข่ยังมีสารที่สำคัญต่อไข่ยังมีสารที่สำคัญ

ต่อร่างกายอีกหลายอย่างเช่นเรซิตินและโคลินซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมองช่วยในการเจริญของเซลล์สมองและเส้นประสาทให้เป็น

ไปตามศักยภาพโดยเฉพาะเด็ก ที่สำคัญคือมีส่วนช่วยในเรื่องความจำไข่จึงเป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยเด็ก

เนื่องจากมีสารอาหารที่จะช่วยในการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการที่ดีโดยเฉพาะพัฒนาการด้านสมองเด็กสามารถบริโภคไข่ได้ทุกวัน

วันละ1ฟอง ในผู้ใหญ่ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพไม่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวานความดัน-โลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดไขมัน
ในเส้นเลือดสูงสามารถบริโภคได้สัปดาห์ละ3-4 ฟองขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละคนซึ่งบางคนสามารถบริโภคได้มากกว่านี้
สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือมีโรคประจำตัวหากจะบริโภคไข่ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อาจบริโภคได้สัปดาห์
้์ละ1ฟอง แต่ถ้าจะบริโภคเฉพาะไข่ขาวอย่างเดียวอาจบริโภคได้มากกว่านี้

............................................

สารที่มีคุณค่า ในไข่ ที่ไม่ควรมองข้าม
ซีลีเนี่ยม ในรูปอินทรีย์ เป็น 1 ใน 15 แร่ธาตูที่จำเป็นต่อร่างกาย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระไม่ให้ทำลายเซลล์ อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ ซีลีเนี่ยมในรูปอินทรีย์ ยังช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพดี
การขาดซีลีเนี่ยมในรูปอินทรีย์อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอเป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย

Choresterol คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่มีความสำคัญ เป็นสารต้นกำเนิดของฮอร์โมนหลายชนิดและกรดน้ำดีจึงถือว่า
คอเลสเตอรอลเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายขาอไม่ได้ แต่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงกว่าปกติ ทำให้เกิด
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบแคบ ซึ่งเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดคอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด
ชนิดดีเรียกว่า HDL ได้จากอาหารและร่างกายผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ HDL จะช่วยขับคอเลสเตอรอลที่เกิน
ความต้องการออกจากร่างกายด้วย คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีเรียกว่า LDL ได้จากอาหารประเภทเนื้อสัตว์
และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นชนิดที่ร่างกายไม่ต้องการ ฉะนั้นเราจึงควรรักษาสัดส่วนไม่ให้ HDL ต่ำเกินไป
และ LDL สูงเกินไป
Vitamia E
วิตามิน อี ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายให้ทำงานได้
อย่างปกติ ป้องกันการกลายพัน์ของเซลล์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง วิตามิน อียังช่วยบำรุงและ
ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยมีคุณสมบัติบำรุง ซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจ และป้องกันการอุดตันของเส้น
เลือดหัวใจ นอกจากนี้แล้ววิตามิน อี ยังช่วยเสริมสร้งภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้มีอายุยืนยาวขึ้นและไม่
เจ็บป่วยด้วยโรคชรา วิตามิน อี มีผล ต่อการลดระดับโคเรสเตอรอล ป้องกันโรคสมองเสื่อม ช่วยกระตุ้น
การเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
OMEGA 3
โอเมก้า -3 เป็นกลุ่มของกรดไขมันชนิดหนึ่งซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกาย สามารถรักษาอาการของโรค

ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดแดงแข้งและตีบ โอเมก้า 3 มีกรด 2 ตัว คือ EPA กับ DHA ที่
ช่วยให้ร่างกายสร้างสารกลุ่มโพรสตะแกลนดิน (PG) ซึ่ง จะทำหน้าที่เป็นเหมือนฮอร์โมนช่วยควบคุมการ
ทำงานต่าง ๆของร่างกาย ทั้งความดันเลือด การแข็งตัวของเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยให

ห่างไกลจากโรคเบาหวานโรคมะเร็ง โรคปวดหัว ไมเกรน โดยรวมแล้วโอเมก้า -3 ยังมีคุณสมบัติในการ

ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
ไข่


เป็นอาหารที่ สมบูรณ์ บริสุทธิ์ เป็นแหล่งอาหารที่ดี



ส่วนประกอบสำคัญของไข่

คือ โปรตีน โดยมีกรดอะมิโนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตถึง 10 ชนิด และยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญอีก 13 ชนิด



ส่วนประกอบของฟองไข่

เปลือกไข่

ประกอบด้วย แคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ เปลือกไข่มีรูเล็ก ๆ มากกว่า 17,000 รู

ช่วยระบายความชื้นและรับอากาศเข้าสารเคลือบผิวป้องกันเชื้อแบคทีเรียไม่ให้เข้าฟองไข่

ไข่ขาว

เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ มีลักษณะข้นและใส ส่วนที่ข้นอยู่ใกล้ไข่แดง

แต่เมื่อเก็บนานขึ้นความข้นจะลดลง ไข่ขาวทำหน้าที่พยุงให้ไข่แดงอยู่คงที่

ช่วยรองรับแรงกระเทีอนไม่ให้ไข่แดงแตกตัว

ไข่แดง

มีคุณค่าอาหารสูง ประกอบด้วยไขมัน และโปรตีนเล็กน้อย วิตามิน เอ ดี อี เกลือแร่

แร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ ฟอสฟอรัส เหล็ก แคลเซียม และมีสังกะสี ไอโอดีน และ ซีลีเนียม สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบีโฟเลต ไขมันไม่อิ่มตัวสีของไข่แดงขึ้นอยู่กับการกินอาหาร

ของแม่ไก่



ข้อควรระวัง

การบริโภคไข่ดิบ หรือไข่เน่าเสีย จะทำให้เกิดอาการ อาหารเป็นพิษได้ สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา

ดังนั้น ควรปฏิบัติกับไข่ที่จะนำมาบริโภคดังนี้

1. ควรเก็บไข่ไว้ในตู้เย็น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์

2. ควรบริโภคไข่ให้หมดภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากซื้อ

3. ล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังสัมผัสไข่

4. เช็ดเปลือกไข่ที่สกปรกให้สะอาด

5. ไม่ควรบริโภคไข่ที่เปลือกไข่แตก หรือ บุบ ร้าว

6. ไม่บริโภคไข่ที่หมดอายุ หากไม่แน่ใจ ให้ทดสอบโดยนำไข่ไปลอยน้ำ

หากไข่จมแสดงว่าไข่ยังสดอยู่ แต่ถ้าลอยหรือมีกลิ่นแสดงว่าไข่เน่าเสีย



คำแนะนำในการบริโภคไข่ไก่ให้เป็นประโยชน์

1. เด็ก ๆ ควรรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง

2. วัยหนุ่มสาวควรบริโภคไข่ไก่ไม่เกินวันละ 2 ฟอง

3. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรบริโภคไข่ไก่ไม่เกิน วัน ละ 1 ฟอง

4. แต่สำหรับชายวัยฉกรรจ์ไข่ไก่มีประโยชน์อย่างยิ่ง

- ไข่ไก่ช่วยให้ร่างกายมีความกระปรี้กระเปร่า กระชุ่มกระชวย

ช่วยให้พลังงานกับร่างกายอย่างเต็มที่

- ไข่ไก่ช่วยทดแทนพลังงานที่ร่างกายสูญเสียไป
ไข่กับเลซิติน
เลซิติน พบมากในไข่แดง และเมล็ดถั่ว เป็นไขมันในรูปของสารประกอบฟอสโฟลิปิด เลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อเซลล์ประสาท

เลซิติน ช่วยการย่อยและขนส่งไขมัน ทำให้เกิดเป็นพลังงานและใช้ไขมัน และเป็นส่วนประกอบของเอ็นไซม์จากตับ ซึ่งช่วยให้สามารถรับคลอเลสเตอรอลจากร่างกายกลับเข้าสู่ตับได้มากขึ้น ช่วยควบคุมระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย เป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างโคลีน ซึ่งมีผลในการเสริมสร้างความจำและลดอาการหลงลืม
เลซิตินเหมาะสำหรับ

1. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ความดัน

2. ผู้ที่มีระดับคลอเลสเตอรอลสูง

3. ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างความจำ

4. ผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการหลงลืม

5. เด็กที่อยู่ในวัยเรียน

6. ผู้ที่ทำงานใช้สมองเคร่งเครียด
ไข่กับโคเลสเตอรอล

คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการกินไข่มาก ๆ ทำให้ปริมาณคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง เพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งที่ไข่ประกอบด้วย คลอเลสเตอรอล

200 มิลลิกรัม ในแต่ละวัน ร่างกายต้องการคลอเรสเตอรอลจากอาหารวันละ 300 มิลลิกรัม ดังนั้นการกินไข่มีผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดเพียงเล็กน้อย และบางครั้งการกินไข่ อาจไม่มีผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดมากเท่ากับการกินเนื้อสัตว์ที่มีปริมาณไขมัน

ชนิดอิ่มตัวสูง


คุณค่าทางอาหารของไข่


โภชนะของไข่ไก่ น้ำหนัก 58 กรัม / ฟอง

พลังงาน 90.00 กิโลแคลอรี่



น้ำ 44.08 กรัม

โปรตีน 7.13 กรัม

ไขมัน 6.78 กรัม

คาร์โบไฮเดรท 0.81 กรัม

เถ้า 0.63 กรัม

แคลเซี่ยม 126.00 มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส 204.00 มิลลิกรัม

เหล็ก 1.60 มิลลิกรัม

ไธอามีน 0.15 มิลลิกรัม

ไรโบฟลาวิล 0.35 มิลลิกรัม

ไนอาซีน 0.40 มิลลิกรัม

เลซิติน 1,280.00 มิลลิกรัม

คลอเลสเตอรอล 200.00 มิลลิกรัม

วิธีกำจัด“หมัดหนู”

นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมปศุสัตว์
ได้สั่งการให้ด่านกักกันสัตว์ทั่วประเทศเข้มงวดตรวจสอบการนำเข้าสัตว์ฟันแทะทุกชนิด ทั้งสุนัข
แมว และกระต่าย จากประเทศจีนและมองโกเลีย และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทหาร-
ตำรวจตระเวนชายแดน และเจ้าหน้าที่ศุลกากรให้ช่วยเฝ้าระวังการลักลอบการนำสัตว์ฟันแทะเข้า
ประเทศ และกำจัดเห็บ หมัดและพยาธิภายนอกของสุนัข-แมวที่นำเข้าจากต่างประเทศทุกตัว นั้น
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประจำช่องทางนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ท่าเรือ และผู้เลี้ยงสุนัข แมว หนู
สวยงาม รวมทั้งสัตว์ฟันแทะในประเทศได้รับทราบวิธีกำจัดหมัดหนู อันเป็นพาหะนำโรค ได้แก่
กาฬโรค โรคเลปโตสไปโรซีสหรือ โรคฉี่หนู โรคสครับไทฟัส หรือไข้รากสาด และโรคทูลารีเมีย หรือ
โรคไข้กระต่าย โรคพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ปอด พยาธิ ตัวกลม เป็นต้น กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการ
สาธิตและประชาสัมพันธ์วิธีการกำจัดหนู และหมัดหนู ดังนี้
วิธีการกำจัดหนู
1. โดยการกำจัดแหล่งอาหารหนู ซึ่งเท่ากับเป็นการกำจัดหนูไปในตัว หมั่นปัดกวาดตาม
พื้นผนัง เพดานและตัวอาคารให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าให้มีเศษอาหารหรือวัตถุดิบผลิตภัณฑ์อาหาร
ต่างๆตกอยู่ ซึ่งจะเป็นอาหารของหนูได้เป็นอย่างดี จัดเก็บวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อมิให้
กลายเป็นแหล่งอาหารหนู
2. การใช้กับดัก เป็นวิธีที่ถูกและมีประสิทธิภาพดี กับดักที่นิยมใช้ได้แก่ กับตีและกับกรง
ส่วนเหยื่อที่ใช้ล่อนั้นอาจเป็นพวกเนื้อหรือปลาหรืออาหารอะไรก็ได้ ควรจะมีการเปลี่ยนเหยื่อบ่อยๆ
เพื่อป้องกันมิให้หนูเกิดความคุ้นเคยนอกจากนี้ผู้ดักควรใช้มือจับกับดักน้อยที่สุดทั้งนี้เพราะหนูจะมี
จมูกไวมาก ถ้าได้กลิ่นคนมันจะไม่กินเหยื่อ การวางกับดักหนู ควรวางให้ชิดฝาผนังหรือในมุมมืด
หรือหลังกองอาหาร หรือในบริเวณใดก็ตามที่คิดว่าเป็นทางผ่านของหนู การวางกับดักให้ต่ำกว่า
กว่าระดับพื้นเล็กน้อยอาจทำให้สามารถดักหนูได้ดีขึ้นหรืออาจจะเอากับดักไว้ในที่ราบและไม่ลึก
นักและที่ผิวหน้ามีขี้เลื่อยหรือเมล็ดพันธ์พืชวางทับอยู่ กับดักจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากหนูมี
จำนวนมากให้ใช้กับดักจำนวนมากช่วย เพื่อป้องกันหนูที่จะหลุดรอดไปได้และเกิดความกลัวเข็ด
กับการดักหนูวิธีนี้
3.การใช้กาว เป็นวิธีที่นิยมกันมาก การดักทำได้โดยเอาเหยื่อวางบนแผ่นโลหะหรือบน
จานแบนๆ แล้วเอากาวป้ายเป็นวงกลมรอบเหยื่อ เมื่อหนูมากินจะเหยียบถูกกาวและถูกยึดเอาไว้
ไม่สามารถหนีได้ วิธีนี้เป็นการกำจัดหนูที่มีประสิทธิภาพดีมากและสามารถนำหนูไปทิ้งได้ทันที
ด้วย ไม่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นของหนูตายและเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้สารเคมีเบื่อหนูด้วย ทำให้ป้องกัน
การปนเปื้อนสารเคมีกับผลิตภัณฑ์ได้
4.การใช้สารเคมีผสมกับเหยื่อ(ยาเบื่อหนู) ผู้ใช้ต้องศึกษาวิธีการใช้ยาโดยละเอียด
รวมถึงวิธีการป้องกันตนเองจากสารเคมีดังกล่าว
วิธีการกำจัดหมัดหนู
1.หมัดหนูที่อยู่อาศัยบนตัวหนู ต้องกำจัดหนูเท่านั้น
2.หมัดหนูที่ติดมายังสุนัขและแมว รวมทั้งหมัดสุนัข หมัดแมว สามารถทำได้โดยการใช้
แชมพูที่ช่วยกำจัดหมัด การใช้แป้งที่มีส่วนผสมของสาร กำจัดหมัด โรยตามตัวสุนัข และแมว การ
ใช้ยาอาบน้ำ หรือแช่ตัว ที่มีส่วนผสมของ โรติโนน (Rotenone) หรือมาลาไธออน (Malathion)
การใช้ปลอกคอ กันหมัด ซึ่งสามารถ กำจัดหมัดได้ ประมาณ 95 % การใช้ยาหยด บริเวณต้นคอ
หรือ อาจเลือกใช้ยาฉีดหรือยากิน ทั้งนี้ควรปรึกษา สัตวแพทย์ อย่างใกล้ชิด
อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุดว่า เจ้าของสุนัข แมวและหนูสวยงาม รวมทั้งสัตว์ฟันแทะ
จะต้องดูแลกำจัดเห็บหมัดของสัตว์ รวมทั้งเก็บอาหารที่เหลือทุกครั้ง เพื่อไม่เป็นอาหารของหนู และ
หมั่นทำความสะอาดกรง/คอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคติดต่อจากหนู
**************************************
ข้อมูล :ส่วนโรคสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : ,มนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมปศุสัตว์

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การใช้ EM กับไก่ไข่

ตามปกติอาหารไก่ ที่ทางโครงการชีววิถีฯ แนะนำเป็นแนวเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การเพาะปลวกให้ไก่กิน โดยการทำบ่อปลวกหลาย ๆ บ่อ เปิดวันละบ่อ หมุนเวียนให้ไก่กิน ทำให้ประหยัดค่าอาหารไก่
-การผสมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้ ฉีด พ่น คอกเสมอ ด้วย EM ขยาย (ตัวลูก) ผสมน้ำอัตรา 1 : 1,000 เท่า ทุกสัปดาห์ หากอากาศร้อนใช้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง หมั่นทำความสะอาดรางน้ำดื่มของไก่เสมอๆ พ่นเป็นละอองให้ทั่วบริเวณ จะทำให้อากาศดี และกำจัดเชื้อไวรัสต่างๆ
-การให้อาหารของไก่ ผสม ซุปเปอร์โบกาฉิ (ดูรายละเอียดการทำได้ใน web) 2-3 % กับอาหารให้กิน ผสม EM สด (หัวเชื้อหรือตัวแม่) กับน้ำสะอาด อัตรา 1 : 200 ให้กินตลอด (ผสมวันต่อวัน) จะทำให้ไก่แข็งแรง ปริมาณไข่มากขึ้น
-การผสม Em สด กับน้ำ ให้ไก่กิน ให้สังเกตปริมาณน้ำที่ไก่กินในแต่ละวัน มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณที่ไก่ โดยผสมทุกวัน ในอัตรา 1 : 200 หรือ Em สด 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วน ถ้า Em สด 1 cc ก็ต้องผสมน้ำ 200 cc เป็นต้น หากผสมเข้มข้นเกินอาจมีผลต่อขนาดไข่ไก่ ทำให้ไข่โตมาก ไก่อาจตายในขณะไข่ได้
-หมายเหตุ การเลี้ยงไก่ หากยังไม่แน่ใจในช่วงที่มีโรคระบาด อาจจะให้ปศุสัตว์ หรือสัตวแพทย์ มาฉีดยากันเอาไว้ก็ได้ มูลไก่จะมี EM ผสมอยู่แล้ว นำไปทำปุ๋ยแห้ง หรืออาหารปลา สุกร กบ
จาก...สุริยะ ริยาพันธ์ ปศุสัตว์อำเภอสิชล

ยาคุมกำเนิดสุนัข - แมว

ตัวยา Medroxy progesterone acetate 50 mg
ข้อกำหนด
๑.ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
๒.สุนัข - แมว สาวควรเริ่มฉีดเมื่ออายุ ๖-๗ เดือน
๓.สุนัข - แมว หลังคลอดลูก ๓๐ - ๔๐ วัน
ขนาดที่ใช้
-ใช้ตามน้ำหนักสัตว์ ๑ ซีซ๊ ต่อ ๑๐ กก.
ข้อห้าม
๑.ห้ามฉีดในขณะที่เป็นสัด(บ้าผู้)
๒.ห้ามฉีดในขณะที่ตั้งท้อง (ไม่มีแรงเบ่ง คลอดลูกไม่ออก)

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การแก้ไขปัญหาทางการสืบพันธุ์โคนม

ปัญหาทางการสืบพันธุ์เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตของฟาร์มสูง การให้การจัดการที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันและการเข้าใจปัญหาแล้วทำการแก้ไขให้เร็วจะช่วยลดความสูญเสียได้
1.การแก้ไขปัญหาผสมติดยาก
ตรวจการเป็นสัดให้ถูกต้อง และให้ทำการผสมเทียมในเวลาเหมาะ
การตรวจสัดที่ดี
• เกษตรกรควรตรวจสัด ช่วงเช้า ตอนโคเดินเข้ามารีดนมช่วงเช้าและช่วงเย็น และช่วงหัวค่ำ โดยแต่ละครั้งควรนาน 20-30 นาที
• พื้นที่ที่โคพักควรเป็นพื้นที่เรียบไม่แข็ง ไม่ควรมีก้อนหินขรุขระ และให้อยู่รวมในฝูงไม่แยกเดี่ยว
• โคที่ยืนนิ่งให้โคตัวอื่นปีนเป็นโคที่เป็นสัดจริง
• เวลาที่เหมาะในการผสมมากที่สุดคือช่วง 12-16 ชม.หลังโคเริ่มยืนนิ่งเป็นสัด

สาเหตุที่ทำให้การจับสัดในฟาร์มผิดพลาดมากคือ
1. สภาพโรงเรือน พื้นคอกพักที่ไม่เหมาะสม ทำให้โคแสดงอาการเป็นสัดได้ไม่ชัดเจน
2. หมายเลขประจำตัวโคไม่ชัดเจน
3. ความผิดพลาดของการบันทึกอาการโคที่ใกล้เป็นสัดและอาการโคที่เป็นสัดจริง
4. มีการตรวจการเป็นสัดไม่เพียงพอ อาจเป็นเพราะเจ้าของฟาร์มมีงานมาก หรือไม่ให้เวลาหรือให้ความสำคัญในการจับสัด หรือไม่นำวิธีการอื่น ๆ เข้าช่วยการจัดการจับสัดในโคในฝูง

เทคนิคการผสมเทียมที่ดีช่วยเพิ่มการผสมติด
การผสมเทียม ต้องทำอย่างสะอาดถูกต้อง ทั้งการละลายน้ำเชื้อและการบรรจุปืนฉีดน้ำเชื้อ ที่สำคัญน้ำเชื้ออสุจิต้องมีคุณภาพดี และเกษตรกรควรทราบประวัติพันธุกรรมของพ่อโค ด้วยเป็นการปรับปรุงพันธุ์โคในฝูงและต้องไม่เป็นทางแพร่โรคทางการสืบพันธุ์
โคควรถูกตรวจท้องหลังผสม 60 วัน บันทึกการท้องและกำหนดคลอด

ประเมินประสิทธิภาพการผสมเทียม
• ลงบันทึกข้อมูลการผสมเทียมทุกครั้ง ทั้งวันที่ผสมและชื่อพ่อพันธุ์ที่ใช้
• โคสาวควรเป็นสัดและผสมติดที่อายุ 15-18 เดือน น้ำหนักประมาณ 280-300 กก. คลอดลูกตัวแรกที่อายุไม่เกิน 27-30 เดือน
• แม่โคหลังคลอดควรเป็นสัดและได้รับการผสม 60 วันหลังคลอด โคส่วนใหญ่ในฝูงควรผสมติดภายใน 100 วันหลังคลอด

มีปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการผสมติดคือ
1. การทำการผสมเทียมในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นกับการจับสัดที่ถูกต้อง
2. เทคนิคการผสมเทียมที่ถูกต้องสะอาดและการเก็บรักษาคุณภาพน้ำเชื้อแช่แข็ง โดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำการผสมเทียมเอง
3. สภาวะอาหารและสุขภาพความสมบูรณ์ของแม่โคและโคสาว ณ เวลาที่ทำการผสมเทียม และภายหลังการผสมเทียม
4. การที่มดลูกเข้าอู่สมบูรณ์ไม่มีการติดเชื้อในมดลูกและมีความพร้อมที่จะรับการตั้งท้อง โดยเฉพาะในการผสมครั้งแรก

2. มดลูกอักเสบ

มดลูกอักเสบเฉียบพลัน
ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในระยะแรกหลังคลอดภายใน 7 วัน มักพบในแม่โคที่มีปัญหาคลอดยาก ต้องมีการช่วยคลอดโดยดึงลูกออก ลูกตายเริ่มเน่าขณะช่วยดึงออก หรือมีปัญหารกค้าง มดลูกทะลักหลังคลอด แม่โคอาจแสดงอาการเบ่งเป็นระยะพบของเหลวที่มีกลิ่นเหม็นเน่าออกจากช่องคลอดสีน้ำเลือด และอาจพบช่องคลอดอักเสบร่วม
อาการ การตรวจร่างกายพบว่าแม่โคมีไข้ ชีพจรสูงขึ้น อัตราการหายใจเร็วขึ้น ต้องแยกให้ออกจากอาการของเต้านมอักเสบ ปอดอักเสบ ให้ทำการตรวจทางทวารหนักอย่างนุ่มนวล ตรวจประเมินการเข้าอู่ของมดลูก และลักษณะมดลูกว่าขนาดเท่าใดมีของเหลวภายในมากเพียงใด
การรักษา ให้ยาชาเฉพาะที่โคนหางเพื่อให้แม่โคลดการเกร็งเบ่งขับของเสียในมดลูก ให้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างทางระบบร่วมกับให้ทางมดลูก (ควรเลือกยาที่เตรียมเฉพาะใช้กับระบบสืบพันธุ์) ให้สารน้ำและยาลดไข้ลดอักเสบกรณีมีไข้สูงและให้การดูแลพยาบาลที่ดี
พยากรณ์โรค แม่โคที่มีการติดเชื้อและสร้างสารพิษเข้าทางระบบอาจตายได้ ในรายที่ตอบสนองการรักษาอาการจะดีขึ้นภายใน 24 ชม. และให้ทำการตรวจช่องคลอดและล้างมดลูก แม่โคที่มีปัญหามดลูกอักเสบหลังคลอดมักพบว่าเป็นมดลูกอักเสบเรี้อรังตามมา

มดลูกอักเสบเรื้อรังและมดลูกเป็นหนอง
พบในโคบางรายเคยเป็นมดลูกอักเสบเฉียบพลันมาก่อน ส่วนใหญ่มดลูกไม่สามารภกำจัดเชื้อแบททีเรียที่ปนเปื้อนที่ติดมาในระยะคลอดลูกออกได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคที่เรียเข้าช่องคลอดจำนวนมากเกินกว่าแม่โคจะทำการกำจัดเชื้อได้เองโดยธรรมชาติ มักพบมากในแม่โคมีปัญหารกค้างหลังคลอด มดลูกเข้าอู่ช้า มีการกลับมามีวงจรการเป็นสัดหลังคลอดช้า มีเนื้อเยื่อเสียหายขณะคลอด หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในฟาร์มที่พบแม่โคมีปัญหามดลูกอักเสบสูงในบางปี น่าเป็นผลจากการจัดการขณะคลอดไม่สะอาด และอาจเป็นผลร่วมจากวิตามินแร่ธาตุในอาหารไม่สมดุล
อาการ แม่โคไม่แสดงอาการมีไข้ การกินอาหารและการให้นมปกติ ตรวจช่องคลอดพบหนองปนเมือกอยู่หน้าช่องคลอด การล้วงตรวจทางทวารหนักพบว่ามีปีกมดลูกขนาดใหญ่กว่าขนาดที่ควรเป็น การเข้าอู่ช้ากว่าปกติ และรู้สึกว่ามดลูกมีลักษณะบวม ในบางรายมดลูกขยายใหญ่มาก มีหนองอยู่ภายในผนังมดลูกหนา เป็นลักษณะมดลูกเป็นหนอง รังไข่อาจยังไม่เริ่มทำงาน หรือบางตัวอาจเริ่มมีวงรอบแล้ว
การแก้ไขรักษา ในรายที่แม่โคมีคอร์ปัสลูเทียมในรังไข่ให้สารโปรสตาแกลนดินเพื่อสลายคอร์ปัสลูเทียม และทำให้แม่โคเป็นสัดเพื่อให้คอมดลูกเปิดและขับหนองออกแล้วจึงทำการล้างมดลูก ทำการล้างมดลูกใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิกว้าง ไม่ระคายเคืองผิวมดลูก (ควรเลือกยาที่เตรียมเฉพาะใช้กับระบบสืบพันธุ์) โดยต้องงดส่งเนื้อขายตามกำหนด และให้ยาปฏิชีวนะออกฤทธิกว้างเข้าทางระบบด้วย
ผลต่อความสมบูรณ์พันธุ์ พบว่าการเป็นมดลูกอักเสบจะมีผลให้แม่โคมีความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำลง ระยะห่างการตกลูกยาวขึ้น แม่โคบางตัวอาจเป็นหมันด้วยมีความเสียหายของมดลูกและท่อนำไข่ อาจมีผลทำให้แม่โคบางตัวไม่แสดงอาการเป็นสัด
3.รกค้าง
รกคือเนื้อเยื่อส่วนของลูกที่เกาะกับผนังมดลูกของแม่ โดยในโคการเกาะติดเป็นแบบคล้ายเม็ดกระดุม โดยปกติส่วนเยื่อหุ้มตัวลูกหรือรก จะถูกขับออกจากตัวแม่ภายใน 3-8 ชม. หลังคลอดลูก มีขบวนการคือหลังจากที่ลูกถูกขับออกไปเมื่อคลอด สายสะดือขาดและไม่มีเลือดมาเลี้ยงถุงหุ้มตัวลูก เลือดที่เคยมาเลี้ยงตัวลูกจำนวนมากจะลดลงอย่างมากทันที ส่วนของแม่จะมีขนาดเล็กลงเพราะเลือดมาเลี้ยงลดลงเช่นกัน โดยรูปร่างกระดุมจะเปลี่ยนจากรูปรีเป็นทรงกลม ช่วยให้เนื้อเยื่อส่วนของลูกหลุดออกจากกระดุมได้ง่ายขึ้นระหว่างการบีบตัวของมดลูกหลังคลอด น้ำหนักของรกเองจะช่วยให้รกหลุดตกออกจากมดลูกได้ดีขึ้น การที่รกค้างอยู่ในมดลูกหลุดออกมาช้ากว่า 12 ชั่วโมงหลังคลอด มักมีความผิดปกติในขบวนการลอกหลุดของเนื้อเยื่อยึดเกาะระหว่างแม่และลูกภาวะรกค้างจะพบมากในโคมากกว่าในสัตว์ชนิดอื่นๆ รกค้างจะเป็นสาเหตุเกี่ยวเนื่องนำไปสู่ปัญหาโรคมดลูกอักเสบมดลูกเป็นหนอง โดยมักเกิดในขบวนการคลอดที่ไม่ปกติทำให้เกิดรกค้างตามมาและเป็นสิ่งโน้มนำให้มีการติดเชื้อเข้าสู่มดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แม่โคมีปัญหาความไม่สมบูรณ์พันธุ์และผสมติดยาก
อัตราการตายต่ำประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ แต่พบปัญหามดลูกอักเสบ น้ำนมลด ผสมติดยาก ตามมา โดยอัตราการเกิดสูงมากในระดับ 20, 50 หรือถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกับการจัดการในขณะคลอด และภาวะสมดุลของอาหารวิตามินแร่ธาตุในฟาร์ม
การแก้ไขและรักษา
ใช้วิธีตัดส่วนที่ห้อยออกจากปากมดลูกให้สั้นที่สุด แล้วให้ยาปฏิชีวนะทางช่องคลอดเข้าในมดลูก ทำการสอดเข้าในมดลูกให้ลึกและต้องทำอย่างสะอาดที่สุด แนะนำการให้ยาปฏิชีวนะออกซี่เตตร้าไซคลินขนาด 1-3 กรัม เข้าในมดลูก จะช่วยลดการอักเสบและติดเชื้อได้ดี แต่จะมีการตกค้างของยาปฏิชีวนะลงในน้ำนม 24-48 ชม. ที่จะต้องงดส่งนม กรณีที่แม่โคมีอาการป่วยแทรกซ้อน ต้องให้การรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะทางระบบ การให้ยาลดไข้และยาอื่นๆ ที่เหมาะสมตามอาการของโค รกที่เหลือค้างอยู่จะหลุดออกเองได้ภายใน 10-15 วัน โคที่ไม่ปลดรกพบว่ามีอัตราการผสมติดและความสมบูรณ์พันธุ์ดีกว่าโคที่ปลดรก ไม่แนะนำให้ทำการปลดด้วยมือด้วยจะเกิดความชอกช้ำในมดลูก มีผลให้เกิดการเสียหายมดลูกอักเสบและผสมติดยากตามมา
การควบคุมและป้องกัน
การเสริมไวตามินและแร่ธาตุ มีรายงานการเสริมไวตามินเอ อี ซีลีเนียม ในระยะก่อนคลอดทั้งแบบผสมอาหารและแบบฉีดพบว่าลดอุบัติการณ์การเกิดรกค้างได้ ด้วยสารเหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดการติดเชื้อและการอักเสบได้ระดับไวตามินอีที่แนะนำผสมในอาหารเป็น 400-1,000 มก.ต่อวัน แบบฉีดเข้ากล้าม 7-14 วันก่อนคลอดแนะนำให้ในขนาด 680-3,000 มก.ต่อวัน มีรายงานการให้ไวตามินอีร่วมกับซีลีเนียม พบว่าให้ผลในการป้องกันรกค้างได้ดีกว่าการให้ไวตามินอีอย่างเดียว โดยขนาดที่แนะนำให้เสริมในอาหารคือไวตามินอี 400-800 ไอยู./วันร่วมกับซีลีเนียม 3-6 มก./วัน
การจัดการภายในฟาร์ม มีการจัดการขณะคลอดให้สะอาดลดการติดเชื้อเข้าช่องคลอด มีคอกพักรอคลอดเป็นสัดส่วนแห้งและสะอาด มีการจัดการโคในฟาร์มให้ปลอดจากโรคทางการสืบพันธุ์ โดยเฉพาะโรคแท้งติดต่อต้องปลอดโรคในฝูง เพื่อลดปัญหาแท้งและเกิดรกค้างตามมา ทำการป้องกันการเกิดโรคไข้น้ำนม เช่นปรับสูตรอาหารในระยะพักรีดนม เช่นให้สัดส่วนแคลเซียมลดลง การให้ไวตามินดีก่อนคลอด การจัดการอาหารให้สมดุลในระยะใกล้คลอดและหลังคลอด การไม่ให้แม่โคอ้วนเกินไปในระยะพักรอคลอด

4.โรคถุงน้ำในรังไข่
ถุงน้ำในรังไข่เป็นความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ที่พบได้บ่อยในโค โดยมีรายงานพบได้มากในโคนม นับเป็นโรคที่นำความสูญเสียทางเศรษฐกิจในฟาร์มโคนมที่สำคัญโรคหนึ่ง รังไข่ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่ คือรังไข่ที่มีลักษณะกระเปาะที่มีของเหลวที่ขนาดใหญ่กว่าไข่ (ฟอลลิเคิล) ที่โตเต็มที่ก่อนตกในวงรอบการเป็นสัดตามธรรมชาติ (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2.5 ซม.) อาจมี 1 ใบ หรือมากกว่าก็ได้ ซึ่งลักษณะโครงสร้างนี้คงอยู่ได้นานกว่า 10 วัน และมีผลทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดไปจากปกติ
ถุงน้ำในรังไข่ เป็นผลจากการไม่ตกไข่ตามปกติของฟอลลิเคิลที่เจริญเต็มที่ เป็นผลให้ไม่มีวงรอบการเป็นสัดตามปกติ ทำให้แม่โคแสดงอาการไม่มีวงรอบการเป็นสัดหรือเป็นสัดบ่อยๆ
สาเหตุโน้มนำ
โรคถุงน้ำในรังไข่ มักเป็นผลร่วมกันระหว่าง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความเครียด การให้ผลผลิตน้ำนมมาก อายุโค และผลจากอาหาร อุบัติการณ์เกิดโรคถุงน้ำในรังไข่พบมากในโคอายุ 4-6 ปี โดยพบได้น้อยมากในแม่โคท้องแรก และมีความสัมพันธ์กับการให้ผลผลิตน้ำนมโดยแม่โคให้ผลผลิตน้ำนมสูงจะพบการเกิดโรคได้สูง และพบว่าโคที่เคยเป็นโรคนี้ในท้องที่ผ่านมาจะพบการเป็นโรคนี้ได้อีกในท้องต่อไป
การรักษา
ปัจจุบันการรักษาด้วยฮอร์โมนเป็นแนวทางการรักษาที่แนะนำให้ใช้ หากโคมีอาการเป็นสัดไม่ปกติให้แจ้งนายสัตวแพทย์ ทำการตรวจรักษาการให้การรักษาเร็วจะเพิ่มโอกาศหายจากโรคได้
การป้องกันโรคถุงน้ำในรังไข่
• คัดเลือกสายพันธุ์โคพ่อพันธุ์ ญาติพี่น้องของแม่พันธุ์และตัวแม่พันธุ์เองต้องไม่มีประวัติเป็นถุงน้ำในรังไข่
• ป้องกันโดยไม่ให้โคอ้วนในระยะพักรีดนม (ไม่ควรมีคะแนนความสมบูรณ์ของรูปร่างมากว่า 4.0)
• มีโปรแกรมการล้วงตรวจระบบสืบพันธุ์หลังคลอด 45-60 วัน และต้องตรวจโคทุกตัวที่ไม่แสดงอาการเป็นสัดหลังคลอด 60 วัน หรือเป็นสัดบ่อยๆ เป็นสัดไม่ตรงรอบ เพื่อให้การรักษาได้เร็วช่วยให้การตอบสนองต่อการรักษาได้ดี

5.มดลูกทะลัก ช่องคลอดทะลัก

ช่องคลอดทะลัก และ/หรือ มดลูกทะลักในโค ส่วนใหญ่จะพบในแม่โคอายุมาก ภาวะแคลเซียมต่ำในระยะใกล้คลอดหรือขณะคลอดโดยที่แม่โคอาจมีอาการไข้น้ำนมและแม่โคลงนอน หรือบางรายอาจไม่มีอาการของไข้น้ำนมก็ได้ อาจพบในแม่โคที่มีปัญหาคลอดยากโดยเฉพาะมีการช่วยคลอดโดยการดึงลูกพบมากในโคสาวท้องแรก มีประวัติช่องคลอดทะลักก่อนคลอดแล้วพบว่ามีโอกาสเกิดมดลูกทะลักหลังคลอดได้ มีปัญหารกค้างแล้วเกิดมดลูกทะลักตามมา
การแก้ไขจัดการ เจ้าของโคต้องตรวจพบการทะลักและจัดการดูแลให้เร็วที่สุด เมื่อพบว่าแม่โคเกิดมดลูกทะลัก โดยแยกแม่โคที่มดลูกทะลักออกจากฝูงให้อยู่คอกเดี่ยวเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากโคตัวอื่นที่จะมาดมเลีย กระแทกมดลูกส่วนที่ทะลักออกมา หาผ้าสะอาดที่เปียกมาหุ้มห่อส่วนที่ทะลักออกมาไว้ หากเป็นไปได้ให้พยายามช่วยประคองส่วนที่ทะลักออกมาเพื่อลดการคั่งของเลือดในส่วนนี้ จนกว่าสัตวแพทย์จะมาถึง แจ้งสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด
ให้ยาชาเฉพาะที่โคนหางเพื่อให้แม่โคลดการเกร็งเบ่งบีบมดลูก ทำความสะอาดมดลูกโดยน้ำเกลือหรือน้ำอุ่นที่สะอาดโดยไม่ผสมยาฆ่าเชื้อ ด้วยอาจมีฤทธิ์กัดทำลายเนื้อเยื่อมดลูกได้ ตรวจสอบส่วนที่ทะลักออกมาว่ามีการฉีกขาดที่ส่วนใด หากมีให้ทำการเย็บให้เรียบร้อย ช่วยดันมดลูกกลับอย่างนุ่มนวลและมั่นคง กรณีมดลูกหรือช่องคลอดออกมามากและนานอาจบวมน้ำต้องลดการบวมโดยใช้น้ำตาลทราย 2-3 กก. โรยส่วนที่ยื่นออกมา จะช่วยลดขนาดและดันกลับได้ง่ายขึ้น หลังดันมดลูกกลับเข้าที่แล้ว ให้ยาปฏิชีวนะชนิดที่เตรียมเพื่อให้ทางมดลูกผ่านเข้าทางช่องคลอด และให้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างเข้าทางระบบ เย็บปากมดลูกโดยวัสดุที่ใช้เหมาะสม ให้ทำการตรวจซ้ำหลังการแก้ไข 24 ชม. เอาวัสดุเย็บออกเมื่อแน่ใจว่าขนาดมดลูกเล็กลงและคอมดลูกหดตัวเล็กลงไม่มีโอกาสที่มดลูกจะทะลักกลับมาอีก (ประมาณ 7-10 วัน) ให้ติดตามรักษาปัญหามดลูกอักเสบที่อาจพบตามมาได้
การจัดการที่ดีในระยะพักรีดนมหรือระยะรอคลอดและขณะคลอดลูก จะลดปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ เช่น

• ระยะพักรอคลอดอย่าให้แม่โคอ้วน (คะแนนความสมบูรณ์รูปร่างน้องกว่า 4)
• ปรับอาหารในระยะพักรอคลอดให้สัดส่วนแคลเซี่ยมต่ำลง เพื่อป้องกันปัญหาไข้น้ำนมหลังคลอด
• ให้วิตามิน เอดีอี ก่อนคลอด 2 สัปดาห์ เพื่อช่วยลดปัญหารกค้างและไข้น้ำนมหลังคลอด
• ขณะรอคลอด คอกพักรอคลอดต้องแห้งสะอาด หากต้องช่วยคลอดให้ทำอย่างสะอาดนุ่มนวล และหากช่วยดึงลูกในช่องคลอดต้องสอดยาปฏิชีวนะเข้าช่องคลอด ดูอาการแทรกซ้อน การกินอาหาร การให้น้ำนม ตรวจวัดไข้ และแจ้งสัตวแพทย์หากแม่โคมีอาการผิดปกติ

การจัดการเพื่อให้แม่โคมีประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ที่ดี
ในฝูงที่มีสถานะความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำจะต้องมีการปรับแก้ปัญหา และฝูงที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ดีต้องรักษาระดับความสมบูรณ์ให้คงดีตลอดเวลา หัวใจสำคัญในการรักษาให้ความสมบูรณ์พันธุ์อยู่ในระดับดีตลอดคือ
• การมีข้อมูลที่บันทึกถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด
• มีการค้นหาโคที่มีปัญหาเพื่อทำการรักษาแก้ไข
• การตรวจแม่โคอย่างสม่ำเสมอ และติดตามผลการรักษาในโคที่มีปัญหาความสมบูรณ์พันธุ์ ประสิทธิ์ผลของการจัดการจะได้เมื่อมีการนำไปปฏิบัติโดยมีบุคลากรในฟาร์มงานร่วมกัน คือ เกษตรกรเจ้าของฟาร์ม หรือผู้จัดการฟาร์มที่มีความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบสูง ทำงานร่วมกับนายสัตวแพทย์ และผู้ผสมเทียมในฟาร์ม

โคที่ต้องทำการตรวจระบบสืบพันธุ์และสุขภาพ
การค้นหาโคที่มีปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาทางการสืบพันธุ์ได้เร็ว จะช่วยการลดการสูญเสียจากการผสมติดยากได้ ประวัติโคเหล่านี้ได้จากบันทึกของฟาร์ม โคที่มีประวัติต่อไปนี้ต้องนำมาตรวจ
• โคที่มีปัญหาคลอดยาก รกค้าง มดลูกอักเสบ และมีอาการแทรกซ้อนหลังคลอด ควรทำการตรวจระบบสืบพันธุ์หลังคลอด
• โคที่มีเมือกที่ผิดปกติออกมาจากช่องคลอด เช่น หนอง เมือกขุ่น
• โคที่แท้ง
• โคที่แสดงการเป็นสัดบ่อย เป็นสัดไม่ปกติ ไม่ตรงรอบ
• โคที่ตรวจไม่พบว่าการเป็นสัด 42 วันหลังคลอด และยังไม่ถูกผสม 63 วัน หลังคลอด
• โคที่ผสมแล้ว 42 วันไม่กลับเป็นสัดให้เป็น โคอาจท้อง หรืออาจเป็นสัดแล้วตรวจไม่พบ หรือมีความผิดปกติอื่นๆ
• โคไม่เป็นสัดหลังคลอด อาจเนื่องจากรังไข่ไม่ทำงาน หรือตรวจการเป็นสัดไม่ได้
• โคที่ผสมซ้ำมากกว่า 5 ครั้ง
• โคที่เคยตรวจว่าท้องแล้ว แต่แสดงอาการเป็นสัดในภายหลัง
• โคสาวที่ไม่เป็นสัดเมื่ออายุมากกว่า 15 เดือน

ควรมีการประเมินประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของโคในฝูง อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าการจัดการฟาร์มอยู่ในเกณฑ์ระดับใด ต้องเร่งหาสาเหตุและทำการแก้ไขที่ด้านใดก่อน โปรแกรมการจัดการฝูงโคเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มการผลิตในฟาร์มได้
ใครเป็นผู้วางเป้าหมายฟาร์ม
วางแผน
เป้าหมายฟาร์มของเกษตรกร
ประเมินสถานะภาพการผลิต นำไปการปฏิบัติ
ควรจัดการสิ่งที่เกษตรกรมองว่าเป็นปัญหา อันดับแรก ก่อน
ค่าเป้าหมายดัชนีการสืบพันธุ์และการผลิตอื่นๆ ในฝูงโคมีค่าดังนี้
อายุเฉลี่ยโคสาวเริ่มผสมพันธุ์ 15-18 เดือน
อายุเฉลี่ยคลอดลูกตัวแรก 27-30 เดือน
วันคลอดถึงผสมครั้งแรกเฉลี่ย 60 วัน
วันคลอดถึงผสมติดเฉลี่ย 100 วัน
จำนวนครั้งที่ผสมต่อการตั้งท้องเฉลี่ย 2.0 ครั้ง
อัตราการผสมครั้งแรกมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
โคผสมมากกว่า 3 ครั้ง น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
ระยะห่างวันตกลูกเฉลี่ย 365 วัน
อัตราโคแท้งน้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ค่าเป้าหมายเหล่านี้ เป็นตัวเลขที่แม่โคที่ปกติสามารถให้ผลผลิตและสืบพันธุ์ได้ และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะได้รับสูงสุดจากการเลี้ยงโค ซึ่งในความเป็นจริงแม่โคไม่ทุกตัวในฟาร์มที่มีความสามารถในการผลิตได้ตามเป้าหมาย ทำให้ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการผลิตจะไม่มีฟาร์มใดทำได้เท่าค่าเป้าหมาย แต่ฟาร์มที่มีค่าเฉลี่ยดัชนีการผลิตใกล้ค่าเป้าหมายมากที่สุดจะเป็นฟาร์มที่ได้รับผลกำไรจากการเลี้ยงโคมากที่สุด

โรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (PED)

โรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (PED)
กรมปศุสัตว์ขอแจ้งเตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศให้ระมัดระวังความเสียหายจากโรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (Porcine epidemic diarrhea, PED) ซึ่งเป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสในสกุลโคโรนาไวรัสสกุลเดียวกับโรค TGE (Transmissible gastroenteritis) ไวรัสจะเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ส่วนวิลไลในลำไส้เล็กเป็นผลทำให้พื้นที่ผิวของการดูดซึมสารอาหารน้อยลง ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียของเหลวและมีอาการขาดน้ำ ทำให้ลูกสุกรทรุดโทรมจนถึงตายได้
ในกรณีเฉียบพลันเสียหายรุนแรงเกิดเมื่อมีการติดเชื้อในครั้งแรกของสุกร อาจพบว่ามีการติดเชื้อในแม่พันธุ์ถึง 100% ที่แสดงอาการท้องเสียปานกลางถึงเป็นลักษณะน้ำและพบได้ในสุกรทุกอายุ แต่จะรุนแรงในลูกสุกรหย่านม โดย PED ที่เกิดมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ Type 1 จะสร้างความเสียหายและกระทบเฉพาะสุกรหลังหย่านม ในขณะที่ Type 2 จะสร้างความเสียหายและมีผลกระทบกับสุกรทุกช่วงอายุรวมทั้งสุกรดูดนม และแม่สุกรด้วย คล้ายกับโรคทีจีอี ระยะการฟักตัวของโรคประมาณ 2-4 วัน ในสุกรดูดนมอาจสร้างความเสียหายปานกลางหรือรุนแรงส่งผลให้เกิดการตายมากกว่า 40% ได้
แนวทางการควบคุมโรคเมื่อเกิดการระบาด
1. เมื่อเกิดปัญหาท้องเสียในสุกรหลายกลุ่มอายุพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะลูกสุกรดูดนมจะมีลักษณะเด่นคืออาเจียนเป็นนมที่แข็งตัวก่อนการท้องเสียรุนแรงเป็นน้ำสีเหลืองแกมเขียวในลูกสุกรหรือสีดำแกมเขียวในสุกรใหญ่ ให้นำลูกสุกรป่วย 2-3 ตัว หรืออุจจาระของลูกสุกรป่วยจำนวน 3-4 ตัวอย่าง (แช่น้ำแข็ง) ส่งตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อยืนยันโดยเร็วที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ หรือศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ประจำภาคหรือ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ
2. ถ้าพบว่าเป็นการระบาดของโรค PED ต้องพยายามลดความรุนแรงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในเล้าคลอด ด้วยการให้การรักษาตามอาการ ได้แก่
1) ให้ลูกสุกรกินยารักษาการท้องเสีย ที่เน้นควบคุมการแทรกซ้อนของเชื้อ E.coli เช่น กลุ่มยา colistin หรือ enrofloxacin ทั้งนี้หากมีตัวยา kaolin หรือ pectin ร่วมด้วยจะช่วยสมานและลดการอักเสบของลำไส้ได้ดีขึ้น
2) ให้สารน้ำอิเล็คโทรไลต์ ในรูปกรอกและละลายน้ำเพื่อลดการขาดน้ำและร่างกายเป็นกรดอย่างรุนแรงที่เป็นสาเหตุการตายทั้งนี้สารน้ำที่ใช้จะต้องไม่มียา ampicllin หรือ amoxycilin ปนอยู่เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาข้อบวมและชักตามมาในช่วงหลัง ซึ่งเป็นผลจากการขัดขวางการสัมผัสเชื้อและสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ
3) แม่ที่ป่วยด้วยโรค PED ในช่วงคลอด ต้องได้รับการรักษา เพื่อป้องกันปัญหานมแห้งอย่างรุนแรงตามมา ด้วยการฉีดยาด้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์นานติดต่อกัน 2-3 วันร่วมกับยาลดไข้แก้ปวดในวันแรกของการรักษา
3. รีบสร้างภูมิคุ้มกันให้แม่สุกรอุ้มท้องทั้งหมดโดยเร็ว เพื่อหวังผลว่าแม่ที่จะเข้าคลอดในช่วง 2 สัปดาห์ถัดไป จะมีภูมิคุ้มกันถ่ายทอดทางนมน้ำเหลืองที่ดี ทำให้ลูกที่เกิดจากแม่เหล่านี้มีการป่วยและสูญเสียลดลงชัดเจน และโรคสงบในที่สุด วิธีการสร้างภูมิให้แม่อุ้มท้องได้แก่
1) ใช้อุจจาระของลูกที่ป่วยปนกับน้ำสะอาด (ไม่มีคลอรีน) พอสมควร เพื่อใช้ตักปนในอาหารแม่อุ้มท้องกินพร้อมกันทั้งฟาร์ม (ปริมาณที่ใช้เล็กน้อย เพราะมีปริมาณไวรัสมากพอ) 1-2 วันติดต่อกันเพื่อให้เกิดการติดเชื้อและสร้างภูมิคุ้มกัน แม่สุกรที่ท้องเสียจะกลับเป็นปกติภายใน 2-3 วัน
2) ช่วงทำให้แม่อุ้มท้องติดเชื้อ จะต้องใช้ยา colistin (หรือยาอื่นที่ได้ผลใกล้เคียง) ขนาด 80-100 ppm เพื่อควบคุมการแทรกซ้อนของ E.coli ร่วมกับ amoxycilin (หรือยาอื่นที่ได้ผลใกล้เคียง) 250-300 ppm เพื่อควบคุมการแท้งจากเชื้อ Streptococus suis และภาวะไข้ช่วงการเกิดโรค PED โดยผสมยาในอาหารนานประมาณ 1 สัปดาห์
4. ภายหลังโรคสงบ ฟาร์มส่วนใหญ่จะมีความคุ้มโรคและไม่พบการเกิดโรคประมาณ 2 ปี หลังจากนั้นอาจพบการท้องเสียประปรายในกลุ่มแม่อุ้มท้องโดยเฉพาะในสุกรสาว ในช่วงหน้าหนาวโดยเฉพาะในฟาร์มขนาดใหญ่ที่ขาดการทดแทนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสยังมีโอกาสหมุนเวียนสร้างการติดเชื้อและภูมิคุ้มกันต่อเนื่องในฝูง เพียงแต่ไวรัสไม่คงทนต่อสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนในประเทศ ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการสร้างภูมิคุ้มกันระดับฟาร์ม
แนวทางการป้องกันโรค
เนื่องจากเป็นโรคที่มีสาเหตุจากไวรัส และยังไม่มีวัคซีนป้องกันแต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดยเน้นการควบคุมปัจจัยเสี่ยง
1. โรงเรือนเล้าจับขาย เป็นแหล่งง่ายสุดที่โรคจะเข้าฟาร์ม ต้องพ่นยาฆ่าเชื้อทุกครั้งที่มีการจับหมูขาย รถจับหมูต้องได้รับการล้างและฆ่าเชื้ออย่างดีก่อนเข้าบริเวณฟาร์ม
2. เข้มงวดเรื่องคนงานในเล้าคลอด ห้ามปะปนกับส่วนอื่น และเข้มงวดเรื่องการฆ่าเชื้อก่อนเข้าโรงเรือน
3. อาจลดความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดในเล้าคลอดโดยการให้สารเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคท้องเสีย ให้ลูกสุกรแรกเกิดทุกตัวกิน(มีจำหน่ายที่ร้านขายยาสัตว์)
“หากผู้เลี้ยงสุกรตรวจพบสุกรแสดงอาการป่วยให้รีบแจ้งสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มหรือปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ทันที เพื่อช่วยเหลือควบคุมให้โรคสงบโดยเร็ว”

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

"ทรอปิคอลโฮลสไตน์" โคนมสายพันธุ์ไทยที่มีพันธุกรรมยอดเยี่ยมที่สุดในอาเซียน


กรมปศุสัตว์ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโคนมพันธุ์ “ทรอปิคอลโฮลสไตน์” โคนมสายเลือดไทย ให้มีความดีเด่นในด้านผลผลิตน้ำนม และรูปร่างโคนมที่ดี เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้โคนมที่มีพันธุกรรมยอดเยี่ยมที่สุดในอาเซียน

นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า กรมปศุสัตว์ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโคนมพันธุ์ “ทรอปิคอลโฮลสไตน์” โคนมสายเลือดไทย ให้มีความดีเด่นในด้านผลผลิตน้ำนม และรูปร่างโคนมที่ดี เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้โคนมที่มีพันธุกรรมยอดเยี่ยมที่สุดในอาเซียน ส่งออกแม่โคนมของไทยไป เวียดนาม และมาเลเซีย และยังเป็นเจ้าภาพจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการผสมเทียมและปรับปรุงพันธุ์ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เป็นต้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในอาเชียนที่มีความพร้อมและประสบความสำเร็จในการพัฒนาจนได้พันธุ์โคนมที่ให้ผลผลิตดี เลี้ยงง่าย ภายใต้ภูมิภาคอากาศแบบร้อนชื้นของอาเซียน
อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า พ่อพันธุ์โคนมทรอปิคอลโฮลสไตน์ของกรมปศุสัตว์ มีกระบวนการพัฒนาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จึงประสบความสำเร็จ สามารถให้กำเนิดลูกสาวพันธุกรรมดีที่ให้น้ำนมถึง สูงถึง 5,000-6,000 กิโลกรัม/305วัน ภายใต้สภาพการเลี้ยงดูปกติในฟาร์มของเกษตรกร(ในขณะที่ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยของโคนมทั้งประเทศมีค่าเท่ากับ 3,816 กิโลกรัม/305 วัน) ซึ่งพ่อพันธุ์โคนมทรอปิคอลโฮลสไตน์นี้จะใช้ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งประมาณ 250,000 โด๊สต่อปี เพื่อใช้บริการผสมเทียมแก่แม่โคนมมากกว่า 70% ของโคนมในประเทศ ทำให้ประเทศไทยลดการสูญเสียเงินตรา และประหยัดงบประมาณการนำเข้าน้ำเชื้อแช่แข็งจากต่างประเทศได้ประมาณปีละ 50 ล้านบาท
กรมปศุสัตว์ โดย สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ มีมุ่งมั่นในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์โคนมของไทยให้มีความก้าวหน้าทางพันธุกรรมเพิ่มขึ้นในทุกปี โดยมุ่งเน้นในลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ คุณภาพน้ำนม และปริมาณน้ำนม ลักษณะรูปร่าง ความสมบูรณ์พันธุ์ และมีคุณสมบัติสอดคล้องกับระบบการตลาด การผลิต การเลี้ยงดู และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของไทยสามารถประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนมได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ในด้านพันธุกรรมโคนม ดังจะเห็นได้ว่าในการดำเนินงานด้านการพัฒนาพันธุ์โคนมมีแนวโน้มที่ดี และบ่งชี้ให้เห็นว่าอนาคตของโคนมของไทยสามารถก้าวหน้าต่อไป และยังเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนด้านการพัฒนาพันธุ์โคนมอีกด้วย อธิบดีกล่าว.
...................................................
ข้อมูล : จุรีรัตน์ แสนโภชน์ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

โคพันธุ์กบินทร์บุรี


เป็นโคลูกผสมระหว่างพันธุ์ซิมเมนทัลกับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายวิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ปราจีนบุรี (ตั้งอยู่ที่อำเภอกบินทร์บุรี)ทำการสร้างโคพันธุ์ใหม่ให้เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม โดยลูกโคเพศผู้ใช้เป็นโคขุนได้และแม่โคใช้รีดนมได้ การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธุ์ซิมเมนทัลคุณภาพสูงจากประเทศเยอรมัน ผสมกับแม่โคบราห็มันพันธุ์แท้ ได้ลูกโคผสมชั่วรุ่นที่ 1 ที่มีเลือด 50 % ซิมเมนทัล และ 50 % บราห์มัน แล้วผสมโคชั่วรุ่นที่1 เข้าด้วยกัน คัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่เรียกว่า “โคพันธุ์กบินทร์บุรี”
โคพันธุ์กบินทร์บุรีมีสีแดงเข้มคล้ายโคพันธุ์ซิมเมนทัล เป็นโคขนาดกลาง เพศผู้โตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 900 ถึง 1,000 กิโลกรัม เพศเมีย 600 ถึง 700 กิโลกรัม โคพันธุ์นี้มีข้อดีคือ ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีพอสมควร เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคพื้นเมือง โคบราห์มันและลูกผสมบราห์มัน เพื่อนำลูกเพศผู้มาเลี้ยงเป็นโคขุน ลูกเพศเมียใช้รีดนมได้มากพอสมควร หากจะเลี้ยงเป็นโครีดนมควรเลี้ยงใกล้กับแหล่งเลี้ยงโคนมที่สามารถรับซื้อน้ำนมดิบได้ จะได้ไม่มีปัญหาในการจำหน่ายนม แต่การเลี้ยงต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ให้ดี เนื้อมีสีแดงเข้มอาจเป็นข้อติของตลาดเนื้อโคคุณภาพดีเมื่อเปรียบเทียบกับโคลูกผสมชาโรเล่ย์ เช่น โคพันธุ์ตาก และโคกำแพงแสน
ข้อมูลจากการศึกษาของกรมปศุสัตว์ แม่โคพันธุ์กบินทร์บุรีซึ่งเป็นลูกผสมซิมเมนทัล 50% กับบราห์มัน 50 % ชั่วอายุแรกจำนวน 119 ตัว ที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์จันทบุรีระหว่าง พ.ศ. 2541 ถึง 2543 ค่าเฉลี่ยลีสท์สแควร์ (Least Square Means) ที่ปรับอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ แล้วน้ำหนักแรกเกิดเท่ากับ 29.92 กิโกรัม น้ำหนักหย่านม (ปรับที่อายุ 200 วัน ) 161.75 กิโลกรัม น้ำหนัก 1 ปี (ปรับที่ 400 วัน) 288.07 กิโลกรัม น้ำหนัก 1 ปีครึ่ง (ปรับที่อายุ 600 วัน) 365.85 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตก่อนหย่านม 652.87 กรัม/วัน หลังหย่านมถึงอายุ 400 วัน 494.97 กิโลกรัม/วัน และจาก 400 วันถึง 600 วัน 565.41 กิโลกรัม ให้นมตลอดระยะการให้นมครั้งแรก 743.84 กิโลกรัม เฉลี่ยวันละ 5.17 กิโลกรัม จำนวนวันรีด 119 วัน
ข้อมูลโคกบินทร์บุรีซึ่งเลี้ยงที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ปราจีนบุรี สถานีฯจันทบุรี และศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง จ.ราชบุรี ค่าเฉลี่ยลีสท์สแควร์ที่ปรับอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ แล้วของน้ำหนักแรกเกิดเท่ากับ 30.57 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม (ปรับที่อายุ 200 วัน) 164.93 กิโลกรัม น้ำหนัก 1 ปี (ปรับที่ 400 วัน) 222.91 กิโลกรัม
จากการทดลองขุนโคกบินทร์บุรี (ลูกผสมซิมเมนทัล 50 % กับบราห์มัน 50 % ) จำนวน 10 ตัว เริ่มขุนที่น้ำหนักเฉลี่ย 278 กิโลกรัม ให้อาหารข้นโปรตีน 18 % อาหารหยาบ 9 % สิ้นสุดการทดลองที่ 1,211 กรัม เปอร์เซ็นซากอุ่น 56.60 เปอร์เซ็นซากเย็น 53.40
โคพันธุ์กบินทร์บุรี
เป็นโคลูกผสมระหว่างพันธุ์ซิมเมนทาลกับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้สถานีวิจัยทดสอบ พันธุ์สัตว์ปราจีนบุรี (ตั้งอยู่ที่ อำเภอกบินทร์บุรี)ทำการสร้างโคพันธุ์ใหม่ให้เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม โดยลูกโคเพศผู้ใช้เป็น โคขุนได้และแม่โคใช้รีดนมได้
การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธุ์ดำเนินการโดยนำน้ำเชื้อโคพันธุ์ซิมเมนทาล คุณภาพสูงจากประเทศ เยอรมัน ผสมกับแม่โคบราห์มันพันธุ์แท้ ได้โคลูกผสมชั่วที่ 1 ที่มีเลือด 50% ซิมเมนทาล และ 50% บราห์มัน แล้วผสม โคชั่วที่ 1 เข้าด้วยกัน คัดเลือกปรับปรุงให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ เรียกว่าโคพันธุ์ กบินทร์บุรี
โคพันธุ์กบินทร์บุรีมีสีแดงเข้มคล้ายโคพันธุ์ซิมเมนทาล เป็นโคขนาดกลาง เพศผู้โตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 900 ถึง 1,000 กิโลกรัม เพศเมีย 600 ถึง 700 กิโลกรัม โคพันธุ์นี้มีข้อดีคือ หากเลี้ยงแบบโคเนื้อมีการเติบโตเร็ว ซากมี ขนาดใหญ่ที่สนองความต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดีได้ ทนทาน ต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีพอสมควร เหมาะที่จะ นำมาผสมกับแม่โคพื้นเมือง โคบราห์มันและลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกเพศผู้มาเลี้ยงเป็นโคขุน ลูกเพศเมีย ใช้รีดนมได้ มากพอสมควร หากจะเลี้ยงเป็นโครีดนมควรเลี้ยงใกล้กับแหล่งเลี้ยงโคนมที่สามารถรับซื้อน้ำนมดิบได้ จะได้ไม่มีปัญหาในการจำหน่ายนม แต่การเลี้ยงต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่พอสมควร ไม่เหมาะที่จะนำไปปล่อยเลี้ยงในป่าหรือปล่อย ในทุ่ง หากใช้แม่โครีดนม ลูกโคที่เกิดออกมาต้องแยก เลี้ยงแบบลูกโคนม ดังนั้นผู้เลี้ยงต้องมีความรู้ในการเลี้ยงโครีดนม และต้องดูแลเอาใจใส่ให้ดี เนื้อมีสีแดงเข้ม อาจเป็นข้อติของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี เมื่อเปรียบเทียบกับโคลูกผสมชาร์ โรเล่ส์ เช่น โคพันธุ์ตากและโคกำแพงแสน
ข้อมูลจากการศึกษาของกรมปศุสัตว์ แม่โคพันธุ์กบินทร์บุรีซึ่งเป็น ลูกผสมซิมเมนทาล 50% กับบราห์มัน 50% ชั่วอายุแรกจำนวน 119 ตัว ที่ สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์จันทบุรีระหว่าง พ.ศ. 2541 ถึง 2543 ค่าเฉลี่ยลีสท์สแควร์(Least Square Means) ที่ปรับอิทธิพลของปัจจัยต่างๆแล้วของน้ำ หนัก แรกเกิดเท่ากับ 29.92 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม (ปรับที่ ี่อายุ 200 วัน) 161.75 กิโลกรัม น้ำหนัก 1 ปี(ปรับที่ 400 วัน) 288.07 กิโลกรัม น้ำหนัก 1 ปีครึ่ง (ปรับที่อายุ 600 วัน) 365.85 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตก่อนหย่านม 652.87 กรัม/วัน อัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมถึง อายุ 400 วัน 494.97 กรัม/วัน อัตราการเจริญเติบโตจาก 400 วันถึง 600 วัน 565.41 กรัม/วัน ให้นมตลอดระยะการให้นมครั้งแรก 743.84 กิโลกรัม เฉลี่ยวันละ 5.17 กิโลกรัม จำนวนวันรีด 119 วัน
ข้อมูลโคกบินทร์บุรีซึ่งเลี้ยงที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ปราจีนบุรี สถานีฯจันทบุรี และศูนย์วิจัยและบำรุง พันธุ์สัตว์หนองกวาง จ.ราชบุรี ค่าเฉลี่ยลีสท์สแควร์ที่ปรับอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ แล้วของ น้ำหนักแรกเกิดเท่ากับ 30.57 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม(ปรับที่อายุ 200 วัน) 164.93 กิโล กรัม น้ำหนัก 1 ปี(ปรับที่ 400 วัน) 222.91 กิโลกรัม จากการทดลองขุนโคกบินทร์บุรี(ลูกผสมซิมเมนทาล 50% กับบราห์มัน 50%) จำนวน 10 ตัว เริ่มขุน ที่น้ำหนักเฉลี่ย 278 กิโลกรัม ให้อาหารข้นโปรตีน 18 % อาหารหยาบโปรตีน 9 % สิ้นสุดการทดลองที่ 450 กิโลกรัม โคมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยวันละ 1,211 กรัม เปอร์เซ็นต์ซากอุ่น 56.60 เปอร์เซ็นต์ซากเย็น 53.40 เปอร์เซ็นต์

โคพันธุ์ตาก


พันธุ์ ตาก (Tak)
ถิ่นกำเนิด ไทย
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ เป็นลูกผสมระหว่าง62.5%ชาร์โรเลส์กับ37.5%บราห์มัน
สีน้ำตาลอ่อนคล้ายสีทอง ลำตัวคล้ายชาร์โรเลส์ ทนร้อน เนื้อดี โตเร็ว เหมาะสำหรับใช้ขุน
โคพันธุ์ตาก เป็นโคลูกผสมระหว่างพันธุ์ชาร์โรเล่ส์กับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ที่โตเร็ว เนื้อนุ่ม เพื่อทดแทนการนำเข้าพันธุ์โคและเนื้อโคคุณภาพดีจากต่างประเทศ
การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธุ์
ดำเนินการโดยนำน้ำเชื้อโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์คุณภาพสูงจากประเทศฝรั่งเศส ผสมกับแม่โคบราห์มันพันธุ์แท้
ได้โคลูกผสมชั่วที่ 1 (เรียกว่าโคพันธุ์ตาก 1) ที่มีเลือด 50% ชาร์โรเล่ส์ และ 50% บราห์มัน
แล้วผสมแม่โคเพศเมียชั่วที่ 1 ดังกล่าวด้วยน้ำเชื้อหรือพ่อบราห์มันพันธุ์แท้ได้ลูกโคชั่วที่ 2
(เรียกโคพันธุ์ตาก 2) ซึ่งมีเลือด 25% ชาร์โรเล่ส์ และ 75% บราห์มัน
จากนั้นผสมแม่โคเพศเมียชั่วที่ 2 ด้วยน้ำเชื้อโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์คุณภาพสูง
ได้ลูกโคชั่วที่ 3 (เรียกว่าโคพันธุ์ตาก) ซึ่งมีเลือด 62.5% ชาร์โรเล่ส์ และ 37.5% บราห์มัน
แล้วนำโคชั่วที่ 3 ผสมกัน คัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ เรียกว่าโคพันธุ์ตาก
ข้อดีของโคพันธุ์ตากมีดังนี้
1.มีการเติบโตเร็ว เนื้อนุ่ม เนื้อสันมีไขมันแทรก (marbling) ซากมีขนาดใหญ่ที่สนองความต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี
2.เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกกินหญ้า ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีพอสมควร
3.เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคพื้นเมืองโคบราห์มันและลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูก มาเลี้ยงเป็นโคขุนได้
4.แม่พันธุ์ผสมพันธุ์ได้เร็ว ที่ศูนย์ฯตาก ผสมพันธุ์ที่แม่โคอายุ 14 เดือน น้ำหนัก 280 กก. ขึ้นไป
ข้อเสียของโคพันธุ์นี้มีดังนี้
1.การเลี้ยงต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่พอสมควร ไม่เหมาะที่จะนำไปปล่อยเลี้ยงในป่าโดยไม่ดูแลเอาใจใส่ หากเลี้ยงในสภาพปล่อยป่าหรือปล่อยทุ่ง ควรใช้พันธุ์ตาก 1 หรือโคพันธุ์ตาก 2

โคพันธุ์กำแพงแสน



เป็นโคพันธุ์ใหม่ปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยใช้พันธุ์ชาร์โรเล่ส์กับบราห์มัน คล้ายกับโคพันธุ์ตาก แต่โคพันธุ์กำแพงแสนเริ่มต้นปรับปรุงพันธุ์จากโคพื้นเมือง

โคพันธุ์กำแพงแสนมีสายเลือด 25% พื้นเมือง 25% บราห์มัน และ 50% ชาร์โรเล่ส์
ส่วนลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ คล้ายกับโคพันธุ์ตาก
เมื่อวันที่ 2 - 4 ธันวาคม 2538 รัฐบาลไทย โดยกรมปศุสัตว์และหน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันจัดการประกวดโคเนื้อขึ้นในงาน Worldtech’ 95 การประกวดครั้งนี้เป็นการประกวดในระบบสากล ผู้ที่เป็นกรรมการตัดสินเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก สมาคมผู้บำรุงพันธุ์โคบราห์มัน และสมาคมโคพันธุ์ซิมเมนทอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแห่งละ 1 ท่าน โคที่นำมาประกวดในงานนี้มีอยู่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นที่นิยมของเกษตรกรไทย คือ
1. พันธุ์บราห์มัน
2. พันธุ์ลูกผสมโคเมืองร้อน (ลูกผสมบราห์มัน หรือลูกผสมฮินดูบราซิล)
3. พันธุ์เดราท์มาสเตอร์
4. พันธุ์กำแพงแสน
โดยได้ทำการประกวดกันเองในแต่ละพันธุ์ จนกระทั่งได้โคที่ดีที่สุด ซึ่งเรียกตำแหน่งนี้ว่า โคยอดเยี่ยม (GRAND CHAMPION) ของพันธุ์นั้น ๆ
เมื่อได้โคยอดเยี่ยมของแต่ละพันธุ์แล้ว(พันธุ์ละ 1 ตัว) ก็นำโคยอดเยี่ยมเหล่านั้นมาประกวดกันอีกครั้งเพื่อหาโคที่เป็นสุดยอดโคเนื้อแห่งปีในงาน WORLDTECH’95 (SUPER GRAND CHAMPION) ผลปรากฏว่า โคพันธุ์กำแพงแสนเพศผู้ เบอร์ K11-36/241 สามารถคว้าตำแหน่งสูงสุดนี้ได้
เนื่องจากโคพันธุ์กำแพงแสน เป็นโคเนื้อพันธุ์แรกที่พัฒนาขึ้นเองในประเทศไทย จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับของวงการและสามารถชนะโคพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งสั่งพันธุ์มาจากต่างประเทศในราคาแพงได้จึงเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

ทำความรู้จักกับโคพันธุ์กำแพงแสน
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพ.ศ.2506 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศ.ดร.จรัญ จันทลักขณา และอาจารย์ประเสริฐ เจิมพร ได้สั่งน้ำเชื้อแข็งโคเนื้อพันธุ์เฮอร์ฟอร์ดเข้ามาทดลองผสมกับโคไทยและกับโคไทยเลือดผสมเรดซินดิ ที่สถานีฝึกนิสิตทับกวางปรากฎว่า ลูกครึ่งที่ได้จากการทดลองโตเร็วขึ้นและไม่มีปัญหาในการเลี้ยงดู แต่สีสรรค์ของลูกผสมออกจะเลอะเทอะสักหน่อย ต่อมาในปี 2512 เมื่อมีการย้ายโคจากสถานีทับกวางมากำแพงแสน จึงได้ใช้น้ำเชื้อพันธุ์ชาโรเลส์เพิ่มขึ้นอีกพันธุ์หนึ่ง พบว่าโคลูกผสมพื้นเมือง*ชาโรเลส์ เติบโตดีและเลี้ยงง่ายอีกทั้งสีสรรมีความสม่ำเสมอกว่าโคลูกผสมพื้นเมือง*เฮียร์ฟอร์ด จึงได้ทำการผสมยกระดับเลือดชาโรเลส์ขึ้นไปเป็น 75% ปรากฏว่าแทนที่จะดีขึ้นกลับพบว่าโคทีมีเลือดเมืองหนาว 75% เลี้ยงยากมากและมีปัญหาเรื่องสุขภาพ(ในสภาพปล่อยทุ่ง) ต่อมา ได้ทดลองผสมพันธุ์ให้เป็นโค 3 สายเลือดคือนำพันธุ์บราห์มันเข้ามาร่วมกับโคไทย และชาโรเลส์ ทำให้ได้ลูกผสมที่ได้มีสีสม่ำเสมอ เลี้ยงง่าย โตเร็วและให้เนื้อคุณภาพดี ในระยะแรกๆ(2525-2530)ทำการผสมเป็น 2 แนวทางคือทำให้มีเลือดโคไทย 25% บราห์มัน 25% และชาโรเลส์ 50% เรียกว่า กำแพงแสน 1 และทำให้มีเลือดโคไทย 12.5% บราห์มัน 25% และชาโรเลส์ 62.5% เรียกว่า กำแพงแสน 2 แต่ภายหลังพบว่า กำแพงแสน2 เลี้ยงยากกว่าในสภาพปล่อยทุ่ง จึงตัดออกจากแผนผสมพันธุ์ เหลือเฉพาะกำแพงแสน1 และเรียกว่าพันธุ์กำแพงแสน ตั้งแต่ปี 2530เป็นต้นมา หลังจากนั้นได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อจดทะเบียนรับรองพันธุ์ประวัติ เมื่อ พ.ศ.2534 นับเป็นโคพันธุ์แรกที่สร้างขึ้นในประเทศไทย

ความหมายของโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน
คือ โคที่มีเลือดพื้นเมือง 25 เปอร์เซ็นต์ บราห์มัน 25 เปอร์เซ็นต์ ชาโรเลส์ 50 เปอร์เซ็นต์ มีสีขาวครีม-เหลืองทั้งตัว มีลักษณะและคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานความเป็นเลิศของโคพันธุ์กำแพงแสนซึ่งสมาคมฯกำหนดขึ้น
สาเหตุที่ใช้ชื่อว่า “กำแพงแสน” เพราะการตั้งชื่อพันธุ์โคโดยทั่วไป นิยมใช้ชื่อถิ่นกำเนิดของโคนั้น ๆ เป็นชื่อพันธุ์ เช่น พันธุ์อเบอร์ดีน-แองกัส เป็นโคที่กำเนิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างเมืองอเบอร์ดีนกับเมืองแองกัส ในประเทศอังกฤษ พันธุ์ซิมเมนทอลเกิดที่หุบเขาซิมเมน ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น ส่วนโคเนื้อพันธุ์แรกที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในประเทศไทย กำเนิดขึ้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จึงให้ชื่อว่า “พันธุ์กำแพงแสน”
สาเหตุที่สร้างโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน
การสร้างโคพันธุ์ “กำแพงแสน” เป็นการปรับปรุงพันธุ์โคพื้นเมืองของไทย คุณสมบัติที่ดีเลิศของโคพื้นเมืองที่ไม่มีโคพันธุ์ใดเทียบได้ คือความสมบูรณ์พันธุ์ ได้แก่ เป็นสัดเร็ว ผสมติดง่าย ทั้ง ๆ ที่ได้รับอาหารไม่ค่อยสมบูรณ์นักก็ยังให้ลูกทุกปี แต่เนื่องจากโคพื้นเมืองไม่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นโคขุนในระบบธุรกิจได้ ทั้งนี้เพราะมีขนาดตัวเล็ก และโตช้า จึงได้มีการปรับปรุงโคพื้นเมืองโดยการนำโคพันธุ์บราห์มันมาผสมเพื่อให้ได้ลูกมีขนาดใหญ่และโตเร็วขึ้นแต่เป็นที่ทราบกันทั่วโลกว่า โคอินเดีย (บราห์มันและฮินดูบราซิล) มีข้อด้อยเรื่องความสมบูรณ์พันธุ์ การยกระดับเลือดโคบราห์มันให้สูงขึ้นจะมีปัญหาการผสมติดยากมากขึ้น ยิ่งถ้าหากได้รับอาหารไม่สมบูรณ์ โคจะไม่ยอมเป็นสัด นอกจากนี้คุณภาพของเนื้อโคบราห์มันก็ด้อยกว่าโคเมืองหนาว ดังนั้นทางโครงการจึงพยายามรักษาเลือดโคพื้นเมืองไว้ 25 % เพื่อให้คงความดีของความสมบูรณ์พันธุ์ และจำกัดเลือดบราห์มันไว้เพียง 25 % เพื่อให้โครงร่างใหญ่ขึ้นโดยที่เรื่องความสมบูรณ์พันธุ์ยังไม่เกิดปัญหา แล้วนำโคพันธุ์ชาโรเลส์ มาช่วยในเรื่องการให้เนื้อ และการเจริญเติบโต แต่โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคเมืองหนาว ซึ่งไม่สามารถทนต่ออากาศร้อนบ้านเราได้ จึงจำกัดเลือดของโคพันธุ์ชาโรเลส์ไว้เพียง 50 %
โดยสรุปคือ การสร้างโคพันธุ์ “กำแพงแสน” ก็เพื่อให้ได้พันธุ์โคที่มีคุณสมบัติเป็นโคเนื้อที่ดีครบถ้วนสำหรับเลี้ยงในสภาพทั่วไปของประเทศไทย โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ (โคพื้นเมือง) เป็นพันธุ์พื้นฐาน
ในการสร้างและพัฒนาโคพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้น ในระยะแรก ๆ คุณลักษณะของโคพันธุ์นั้น ๆ อาจจะยังไม่ดีนัก แต่ได้มีการตั้งคุณลักษณะของโคในอุดมคติที่ต้องการไว้ แล้วพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้โคที่มีคุณลักษณะตรงตามที่ตั้งไว้ โคที่สมาคมจะจดทะเบียนรับรองพันธุ์ให้ก็ต้องมีลักษณะตรงกับลักษณะในอุดมคติดังกล่าวนี้ ในการคัดเลือกโคไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์และในการประกวดโคก็จะอิงลักษณะและคุณสมบัติที่ตั้งไว้นี้เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน ลักษณะในอุดมคติดังกล่าวนี้เรียกกันตามหลักสากลว่า มาตรฐานความเป็นเลิศ (Standard of Exellence)