...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช...(กิจกรรทความรู้รอบตัว)ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี..

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไก่เบตง







เบตง...เป็นพื้นที่อำเภอหนึ่งของ จัง หวัดยะลา ซึ่งอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ใครๆก็หวาดในยามนี้

แต่เมื่อได้เข้าไป สัมผัสกับหลายสิ่งหลายอย่างของเบตง แล้วจะ ต้องประทับใจจนลืมภัย และ ภยันตราย ทั้ง ปวง โดยเฉพาะเกี่ยวกับอาหาร อย่างเช่น กบภูเขา หรือ ไก่เบตง ถือว่า เป็นของดีประจำท้องถิ่น เลยทีเดียว

ไก่เบตง....มี หงอนแบบจักร ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ขนปีกน้อย ไม่มีขนหาง สีขน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เหลืองทองเข้ม เหลืองทองอ่อน และ ขาว หรือ ขาวแซมน้ำตาล

ไก่พันธุ์นี้ทนต่อสภาพอากาศร้อน ทนต่อโรคแมลง สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าไก่พันธุ์พื้นเมืองทั่วๆไป ทั้งตัวผู้ตัวเมียมีอัตราใกล้เคียงกัน เพศผู้ อายุ 14 สัปดาห์ น้ำหนัก 1,800 กรัม ตัวเมีย เมื่ออายุ 18 สัปดาห์ น้ำหนัก 1,700 กรัม ....โดยน้ำหนักเฉลี่ยที่อายุ 15 สัปดาห์ จะอยู่ประมาณ 1,700 กรัม...

....ตัวเมียจะออกไข่ฟองแรกเมื่ออายุได้ 27 สัปดาห์ และจะวางไข่ได้ไม่ต่ำกว่า 100 ฟอง

ไก่เบตง....มีเนื้อมาก เหนียวนุ่มหอม รสชาติดี เนื้อไม่แฉะ จึงเป็นที่นิยม ไม่ว่าจะแปรรูปอาหารชนิดใด อาทิ ไก่สับ ไก่นึ่ง ไก่ต้ม ตุ๋นยาจีน ข้าวมันไก่ ข้าวหน้าไก่ ฯลฯ... อร่อยลืมอิ่มกันทั้งนั้น (แต่ต้องอยู่กับฝีมือคนปรุงด้วย)

ด้วยความอร่อย(ของเนื้อ)เป็นที่ต้องการแก่ผู้บริโภคนี้ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้นำไก่พันธุ์เบตงมาทำการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อให้สามารถเลี้ยงได้ในสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป

รศ.ดร.วิจารณ์ วิชชุกิจ คณบดีคณะเกษตร มก. บอกถึงเรื่องนี้ว่า...ปัจจุบันได้ทำการวิจัยและพัฒนาไก่เบตงจน กระทั่งรสชาติและคุณภาพเนื้อ เป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพ ดีกว่า เนื้อมากและนุ่มกว่าเดิม อีกทั้งราคาไม่แพง...จน กระทั่งสายพันธุ์นิ่งสามารถขยายพันธุ์เข้าสู่ภาคปศุสัตว์ในภาคธุรกิจได้ จึงให้ชื่อว่า...ไก่เคยูเบ-ตง ตามนามของสถาบัน

ปัจจุบันพร้อมให้เกษตรกรโดยทั่วไปเลี้ยงเป็นอาชีพได้ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับ ผู้บริโภค...

...หากสนใจ สอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฟาร์มสุวรรณวาจกสิกิจ ภาควิชา สัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โทร. 0-2579-8525 เวลาราชการ.

ปัญญา เจริญวงศ์
...............
ไก่เบตง
ไก่เบตง Betta splendens Regan ไก่เบตง Betta splendens Regan ?การเลี้ยงไก่เบตง จังหวัดยะลา? ..และการควบคุมโรค.. ประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตง คำว่า “เบตง” เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา ซึ่งมีพื้นที่อยู่ใต้สุดของจังหวัดยะลา และประเทศไทยมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับรัฐเคดา ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ลักษณะพื้นที่เป็นที่สูง ราษฏรส่วนใหญ่เป็นคนไทยมีเชื้อสายจีน มีอาชีพในการทำสวนยางพาราและค้าขาย และเป็นแหล่งกำเนิดไก่ที่มีชื่อเสียงมาก เนื้อมีรสชาดอร่อยและตัวใหญ่ ตามประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตงนี้ เป็นไก่ซึ่งมีเชื้อสายมาจากไก่พันธุ์เลียงชาน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เมื่อชาวจีนอพยพมาจากประเทศจีนและมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ตั้งหลักแหล่งในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จึงได้นำไก่พันธุ์นี้มีมาแพร่หลายในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จนถึงทุกวันนี้ แต่ในปัจจุบันไก่พันธุ์นี้มีปริมาณลดน้อยลง เนื่องจากมีการอพยพบ้านเรือนบ่อย ๆ และราษฏรบางท้องที่ไม่ได้มีการทำวัคซีนป้องกันโรค บางครั้งทำให้เกิดโรคระบาดขึ้นไก่ล้มตายเป็นจำนวนมาก และอีกประการหนึ่ง คือ ราคาที่จำหน่ายในท้องที่หรือตลาดมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ ประมาณ 70 – 80 บาท เนื่องจากหาซื้อยากขึ้นเพราะมีราษฏรเลี้ยงลดน้อยลง ตลาดผู้บริโภคไม่แน่นอน
ลักษณะของไก่พันธุ์เบตง

ตัวผู้ ปาก สี สีเหลืองอ่อน มีลักษณะ จงอยปากงองุ้มแข็งแรง อาจเป็นเพราะต้องหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ จึงทำให้ปากมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ ตา ตานูนแจ่มใส หงอน มีหนึ่งแบบ คือ แบบหงอนจักร์ หัว ลักษณะกว้างไม่แคบ ตุ้มหู ไม่มี คอ คอตั้ง , แข็งแรง ขนคอมีสีเหลืองทองที่หัวแล้วค่อย ๆ จางลง มาถึงลำตัวลักษณะคล้ายสร้อยคอ ปีก สั้น , แข็งแรงพอเหมาะกับลำตัว ขนสีเหลือง อาจมีเส้นสีดำ 1 หรือ 2 เส้น ที่ปลายแถบของขน อก กล้ามเนื้อกว้าง ตามลักษณะไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไป ขนที่อกและใต้ปีกสีเหลืองบาง หลัง มีระดับขนานกับพื้นดิน (กว้าง , เป็นแผ่น ๆ) หาง มีขนหางไม่ดกมากนัก มีขนสีน้ำตาลปน หางขนมีน้อยและไม่ยาวมาก ปั้นท้าย (ก้นไก่) เป็นรูปตัดเห็นได้ชัด ขาไก่ มีขนาดใหญ่พอเหมาะกับลำตัวเช่นเดียวกับไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไป ขนสีเหลือง ผิวหนังมีสีแดงเรื่อ ๆ เพราะขนน้อย แต่ถ้าเป็นไก่ตอนจะมีขนดก หน้าแข้งไก่ กลม , ล่ำสัน , เกล็ดวาวแถวแนวเป็นระเบียบสีเหลือง นิ้วไก่ เหยียดตรงและแข็งแรง เล็บเท้า สีขาวอมเหลือง

ตัวเมีย หัว ลักษณะกว้าง ตา แจ่มใส หงอน รูปถั่วสั้น หรือ จักรติดหนังสือ ปาก โคนปากมีสีน้ำตาลเข้มค่อย ๆ จางมาเป็นสีเหลืองที่ปลายปาก จงอยปากงุ้ม แข็งแรง คอ คอตั้งแข็งแรง สีเหลืองอ่อน อก กว้างหนาตามลักษณะไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไปขนสีเหลืองดกมีขนคลุมทั่วตัว หลัง ขนสีเหลืองดก วางแนวขนานกับพื้น ปีก พอเหมาะกับลำตัว แข็งแรง ขนปีกเต็ม เป็นแบบมีสีดำประปราย หาง หางดก , สีเหลือง ขาไก่ แข็งแรง ขนาดพอเหมาะกับลำตัว ขนสีเหลืองดก หน้าแข้งไก่ กลมสีเหลือง เกล็ดวางแถวแนวเป็นระเบียบ นิ้วไก่ เหยียดตรงและแข็งแรง เล็บไก่ สีขาวอมเหลือง ความต้านทานโรค มีความต้านทานโรคสูงพอสมควร

การเลี้ยงไก่เบตง ไก่พันธุ์เบตง เป็นไก่ที่ชอบหากินอิสระในสนามหญ้าบริเวณบ้านตามป่าโปร่ง ๆ คงเป็นเพราะ ไก่พันธุ์นี้มีลักษณะไก่ป่าอยู่มาก ราษฏรในอำเภอเบตงเลี้ยงไก่พันธุ์นี้ตามบริเวณลานบ้านในสวนยางพารา ไก่พันธุ์นี้เลี้ยงเชื่องมากชอบหากินเป็นฝูง ตัวผู้รักลูกมาก บางครั้งจะพบว่าตัวผู้จะฟักลูกแทนตัวเมีย
ที่มา:กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดยะลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น