...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช...(กิจกรรทความรู้รอบตัว)ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี..

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สารพิษในพืชอาหารสัตว์ (เคี้ยวเอื้อง)

นสพ.ดร. สาทิส ผลภาค
ในช่วงต่อระหว่างฤดูแล้งกับฤดูฝน นอกจากภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิ และความชื้น ซึ่งมีผลกระทบทำให้เกิดความเครียดในตัวสัตว์แล้ว หญ้าอาหารธรรมชาติที่เหี่ยวแห้งในฤดูร้อนก็จะเริ่มแตกใบอ่อน จากการได้รับน้ำฝนในช่วงนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ โค-กระบือกินหญ้าอ่อนซึ่งมีมากในช่วงดังกล่าวได้มากขึ้นจนอาจเกิดภาวะท้องอืด (bloat) ได้ นอกจากนี้ถ้ามีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (ยูเรีย) ในแปลงหญ้าในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งจะทำให้พืชดูดซึมเอาธาตุไนโตรเจนจากดินไปสะสมเป็นไนเตรทในลำต้นและใบอย่างรวดเร็วอีกด้วย เช่นเดียวกับการสะสมไซยาไนด์ในพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง ถ้ามีการปล่อย โค-กระบือ ไปกินหญ้าในช่วงนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษจากทั้งสารไนเตรท และไซยาไนด์ที่สะสมในต้นพืชดังกล่าว จนทำให้สัตว์ตายจากภาวะการขาดอ๊อกซิเจนในเลือด (hypoxia) อาการที่มักพบในสัตว์คือ ท้องอืด กระวนกระวาย กล้ามเนื้อสั่น หายใจขัด ถ้าเปิดปากดูเหงือกจะพบเหงือกมีสีม่วงคล้ำ (cyanosis) การแก้ไขในสัตว์ที่แสดงอาการแล้วมักไม่ได้ผล เนื่องจากว่าสัตว์จะขับสารพิษที่มีอยู่ในหญ้าสดที่กินเข้าไปสะสมอยู่ในกระเพาะหมัก (rumen) ต้องใช้ระยะเวลานานหลายวัน ระหว่างนั้นพิษที่อยู่ในหญ้าจะถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิตไปเรื่อย ๆ


ต้นมันสำปะหลัง



ต้นไมยราบไร้หนาม


 หญ้าดอกขาว


โคกินมันสำปะหลัง



มันสำปะหลังสดในกระเพาะโค


เหงือกที่มีม่วงคล้ำ
การแก้ความเป็นพิษโดยการใช้สารต้านพิษ (antidote) ต้องสอบประวัติและอาการสัตว์จากเจ้าของสัตว์เพื่อแยกกลุ่มของสารพิษว่าเป็นในกลุ่มไซยาไนด์ หรือไนเตรท ให้ชัดเจนก่อน เพื่อจะใช้ยาต้านพิษได้ถูกต้อง ประเภทของยาต้านพิษมี 2 ชนิดคือ
1. พิษจากไซยาไนด์ การแก้พิษให้ใช้สารละลาย sodium nitrate 20% ผสมกับ sodium thiosulfate 20% ในอัตราส่วน 1:3 ฉีดเข้าเส้น (IV) ในขนาด 4 มล./น้ำหนักสัตว์ 45 กก.
2. พิษจากไนเตรท การแก้พิษให้ใช้ methylene blue ขนาด 4-5 มก./น้ำหนักสัตว์ 1 กก. แล้วทำให้มีความเข้มข้น 2-4 % ฉีดเข้าเส้น (IV)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น