...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช...(กิจกรรทความรู้รอบตัว)ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี..

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คุณค่าไข่

กรมอนามัย ยัน อย่ากลัวไข่จนเกินเหตุ พร้อมแนะกินอย่างฉลาดได้คุณค่าอาหารเพียบ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยไข่ให้คุณค่าสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ แต่ต้อง
บริโภคในปริมาณเหมาะสมตามแต่ละวัย ร่วมกับอาหารประเภทอื่น ๆ ที่หลากหลายครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้อ
ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดไขมันส่วนเกินและควบคุมระดับโคเลสเตอรอลให้เป็น
ปกติ
นายแพทย์สมยศ เจริญศักดิ์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงกรณีผลการศึกษาวิจัยของสำนักงาน
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติที่ระบุว่าคนวัยทำงานสุขภาพดีสามารถบริโภคไข่ได้ทุกวัน ไม่เพิ่มโคเลสเตอรอลและไม่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ว่า ตลอดระยะที่ผ่านมาไข่นับเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่า หาได้ง่าย และเหมาะสำหรับทุกเพศวัย และการปรุงอาหารประเภทไข่ก็ทำได้ง่ายและหลากหลายสารพัดเมนู โดย
นอกจากจะให้สารอาหารประเภทโปรตีนแล้ว ยังมีไขมัน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินบี 12 วิตามินเอ และวิตามินดี ทั้งนี้ การบริโภคไข่เพื่อให้ได้คุณค่านั้น ตัวแปรด้านกลุ่มวัยต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะควบคุมให้การบริโภคไข่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งกรมอนามัยได้กำหนดในโภชนบัญญัติ 9 ข้อ ให้เด็กตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจนถึงเด็กวัยเรียนควรมีการบริโภคไข่ได้วันละ 1 ฟอง ส่วนผู้ใหญ่ที่มีภาวะร่างกายปกติควรบริโภคไข่ 3-4 ฟอง / สัปดาห์ และหากเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคที่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มี
โคเลสเตอรอลสูง ก็ควรบริโภคไข่เพียง 1 ฟอง / สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์นายแพทย์สมยศ กล่าวต่อไปว่า การบริโภคไข่อย่างชาญฉลาดที่ทำให้ร่างกายได้รับ
สารอาหาร ที่หลากหลาย มีปริมาณสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไม่เป็นการเพิ่ม
สารอาหารที่ก่อให้เกิดโรคทางภาวะโภชนาการนั้น ผู้บริโภคควรบริโภคอาหารที่หลากหลายในแต่ละ
มื้อ โดยให้มีอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ และอาหารประเภทต่าง ๆ ครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่
เหมาะสม นอกจากนี้ กากใยอาหารที่ได้รับจากการบริโภคผักและผลไม้ จะช่วยดูดซับไขมันบางส่วนที่อยู่ในอาหารออกจากร่างกาย ทำให้ไม่เกิดการสะสมที่อาจส่งผลทำให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ตามมาด้วย
“การหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายมีโคเลสเตอรอลสูงไม่ได้อยู่ที่การลดหรืองดบริโภคไข่ แต่ผู้บริโภคต้องมี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ควบคู่กับการหมั่นออกกำลังกายเป็น
ประจำ จะช่วยลดไขมันส่วนเกินและควบคุมระดับโคเลสเตอรอลให้เป็นปกติ อีกทั้งควรมีการตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ต้องตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อควบคุมและป้องกันปริมาณส่วนเกินของไขมันในเลือด โคเลสเตอรอล ได้อย่างทันท่วงที และที่สำคัญยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดที่ระบุว่าไข่คือสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
ที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
 ...........................
กรมอนามัย เผย “ไข่” ยอดอาหารสำหรับทุกเพศทุกวัย
โฆษกกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าจากการที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนบริโภคไข่เพิ่มนั้นนับเป็นสิ่งที่ดี เพราะไข่นอกจาก
เป็นอาหารที่อุดมด้วยคุณค่าแล้ว ยังมีวิตามินเอด้วย
นายสง่า ดามาพงศ์ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนบริโภคไข่เพิ่มนั้น
นับเป็นสิ่งที่ดีเพราะไข่นอกจากเป็นอาหารที่อุดมด้วยคุณค่าแล้วยังมีวิตามินเอด้วยนอกจากนี้ไข่ยังมีสารที่สำคัญต่อไข่ยังมีสารที่สำคัญ

ต่อร่างกายอีกหลายอย่างเช่นเรซิตินและโคลินซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมองช่วยในการเจริญของเซลล์สมองและเส้นประสาทให้เป็น

ไปตามศักยภาพโดยเฉพาะเด็ก ที่สำคัญคือมีส่วนช่วยในเรื่องความจำไข่จึงเป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยเด็ก

เนื่องจากมีสารอาหารที่จะช่วยในการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการที่ดีโดยเฉพาะพัฒนาการด้านสมองเด็กสามารถบริโภคไข่ได้ทุกวัน

วันละ1ฟอง ในผู้ใหญ่ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพไม่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวานความดัน-โลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดไขมัน
ในเส้นเลือดสูงสามารถบริโภคได้สัปดาห์ละ3-4 ฟองขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละคนซึ่งบางคนสามารถบริโภคได้มากกว่านี้
สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือมีโรคประจำตัวหากจะบริโภคไข่ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อาจบริโภคได้สัปดาห์
้์ละ1ฟอง แต่ถ้าจะบริโภคเฉพาะไข่ขาวอย่างเดียวอาจบริโภคได้มากกว่านี้

............................................

สารที่มีคุณค่า ในไข่ ที่ไม่ควรมองข้าม
ซีลีเนี่ยม ในรูปอินทรีย์ เป็น 1 ใน 15 แร่ธาตูที่จำเป็นต่อร่างกาย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระไม่ให้ทำลายเซลล์ อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ ซีลีเนี่ยมในรูปอินทรีย์ ยังช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพดี
การขาดซีลีเนี่ยมในรูปอินทรีย์อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอเป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย

Choresterol คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่มีความสำคัญ เป็นสารต้นกำเนิดของฮอร์โมนหลายชนิดและกรดน้ำดีจึงถือว่า
คอเลสเตอรอลเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายขาอไม่ได้ แต่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงกว่าปกติ ทำให้เกิด
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบแคบ ซึ่งเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดคอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด
ชนิดดีเรียกว่า HDL ได้จากอาหารและร่างกายผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ HDL จะช่วยขับคอเลสเตอรอลที่เกิน
ความต้องการออกจากร่างกายด้วย คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีเรียกว่า LDL ได้จากอาหารประเภทเนื้อสัตว์
และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นชนิดที่ร่างกายไม่ต้องการ ฉะนั้นเราจึงควรรักษาสัดส่วนไม่ให้ HDL ต่ำเกินไป
และ LDL สูงเกินไป
Vitamia E
วิตามิน อี ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายให้ทำงานได้
อย่างปกติ ป้องกันการกลายพัน์ของเซลล์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง วิตามิน อียังช่วยบำรุงและ
ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยมีคุณสมบัติบำรุง ซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจ และป้องกันการอุดตันของเส้น
เลือดหัวใจ นอกจากนี้แล้ววิตามิน อี ยังช่วยเสริมสร้งภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้มีอายุยืนยาวขึ้นและไม่
เจ็บป่วยด้วยโรคชรา วิตามิน อี มีผล ต่อการลดระดับโคเรสเตอรอล ป้องกันโรคสมองเสื่อม ช่วยกระตุ้น
การเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
OMEGA 3
โอเมก้า -3 เป็นกลุ่มของกรดไขมันชนิดหนึ่งซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกาย สามารถรักษาอาการของโรค

ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดแดงแข้งและตีบ โอเมก้า 3 มีกรด 2 ตัว คือ EPA กับ DHA ที่
ช่วยให้ร่างกายสร้างสารกลุ่มโพรสตะแกลนดิน (PG) ซึ่ง จะทำหน้าที่เป็นเหมือนฮอร์โมนช่วยควบคุมการ
ทำงานต่าง ๆของร่างกาย ทั้งความดันเลือด การแข็งตัวของเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยให

ห่างไกลจากโรคเบาหวานโรคมะเร็ง โรคปวดหัว ไมเกรน โดยรวมแล้วโอเมก้า -3 ยังมีคุณสมบัติในการ

ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
ไข่


เป็นอาหารที่ สมบูรณ์ บริสุทธิ์ เป็นแหล่งอาหารที่ดี



ส่วนประกอบสำคัญของไข่

คือ โปรตีน โดยมีกรดอะมิโนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตถึง 10 ชนิด และยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญอีก 13 ชนิด



ส่วนประกอบของฟองไข่

เปลือกไข่

ประกอบด้วย แคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ เปลือกไข่มีรูเล็ก ๆ มากกว่า 17,000 รู

ช่วยระบายความชื้นและรับอากาศเข้าสารเคลือบผิวป้องกันเชื้อแบคทีเรียไม่ให้เข้าฟองไข่

ไข่ขาว

เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ มีลักษณะข้นและใส ส่วนที่ข้นอยู่ใกล้ไข่แดง

แต่เมื่อเก็บนานขึ้นความข้นจะลดลง ไข่ขาวทำหน้าที่พยุงให้ไข่แดงอยู่คงที่

ช่วยรองรับแรงกระเทีอนไม่ให้ไข่แดงแตกตัว

ไข่แดง

มีคุณค่าอาหารสูง ประกอบด้วยไขมัน และโปรตีนเล็กน้อย วิตามิน เอ ดี อี เกลือแร่

แร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ ฟอสฟอรัส เหล็ก แคลเซียม และมีสังกะสี ไอโอดีน และ ซีลีเนียม สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบีโฟเลต ไขมันไม่อิ่มตัวสีของไข่แดงขึ้นอยู่กับการกินอาหาร

ของแม่ไก่



ข้อควรระวัง

การบริโภคไข่ดิบ หรือไข่เน่าเสีย จะทำให้เกิดอาการ อาหารเป็นพิษได้ สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา

ดังนั้น ควรปฏิบัติกับไข่ที่จะนำมาบริโภคดังนี้

1. ควรเก็บไข่ไว้ในตู้เย็น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์

2. ควรบริโภคไข่ให้หมดภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากซื้อ

3. ล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังสัมผัสไข่

4. เช็ดเปลือกไข่ที่สกปรกให้สะอาด

5. ไม่ควรบริโภคไข่ที่เปลือกไข่แตก หรือ บุบ ร้าว

6. ไม่บริโภคไข่ที่หมดอายุ หากไม่แน่ใจ ให้ทดสอบโดยนำไข่ไปลอยน้ำ

หากไข่จมแสดงว่าไข่ยังสดอยู่ แต่ถ้าลอยหรือมีกลิ่นแสดงว่าไข่เน่าเสีย



คำแนะนำในการบริโภคไข่ไก่ให้เป็นประโยชน์

1. เด็ก ๆ ควรรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง

2. วัยหนุ่มสาวควรบริโภคไข่ไก่ไม่เกินวันละ 2 ฟอง

3. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรบริโภคไข่ไก่ไม่เกิน วัน ละ 1 ฟอง

4. แต่สำหรับชายวัยฉกรรจ์ไข่ไก่มีประโยชน์อย่างยิ่ง

- ไข่ไก่ช่วยให้ร่างกายมีความกระปรี้กระเปร่า กระชุ่มกระชวย

ช่วยให้พลังงานกับร่างกายอย่างเต็มที่

- ไข่ไก่ช่วยทดแทนพลังงานที่ร่างกายสูญเสียไป
ไข่กับเลซิติน
เลซิติน พบมากในไข่แดง และเมล็ดถั่ว เป็นไขมันในรูปของสารประกอบฟอสโฟลิปิด เลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อเซลล์ประสาท

เลซิติน ช่วยการย่อยและขนส่งไขมัน ทำให้เกิดเป็นพลังงานและใช้ไขมัน และเป็นส่วนประกอบของเอ็นไซม์จากตับ ซึ่งช่วยให้สามารถรับคลอเลสเตอรอลจากร่างกายกลับเข้าสู่ตับได้มากขึ้น ช่วยควบคุมระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย เป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างโคลีน ซึ่งมีผลในการเสริมสร้างความจำและลดอาการหลงลืม
เลซิตินเหมาะสำหรับ

1. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ความดัน

2. ผู้ที่มีระดับคลอเลสเตอรอลสูง

3. ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างความจำ

4. ผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการหลงลืม

5. เด็กที่อยู่ในวัยเรียน

6. ผู้ที่ทำงานใช้สมองเคร่งเครียด
ไข่กับโคเลสเตอรอล

คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการกินไข่มาก ๆ ทำให้ปริมาณคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง เพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งที่ไข่ประกอบด้วย คลอเลสเตอรอล

200 มิลลิกรัม ในแต่ละวัน ร่างกายต้องการคลอเรสเตอรอลจากอาหารวันละ 300 มิลลิกรัม ดังนั้นการกินไข่มีผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดเพียงเล็กน้อย และบางครั้งการกินไข่ อาจไม่มีผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดมากเท่ากับการกินเนื้อสัตว์ที่มีปริมาณไขมัน

ชนิดอิ่มตัวสูง


คุณค่าทางอาหารของไข่


โภชนะของไข่ไก่ น้ำหนัก 58 กรัม / ฟอง

พลังงาน 90.00 กิโลแคลอรี่



น้ำ 44.08 กรัม

โปรตีน 7.13 กรัม

ไขมัน 6.78 กรัม

คาร์โบไฮเดรท 0.81 กรัม

เถ้า 0.63 กรัม

แคลเซี่ยม 126.00 มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส 204.00 มิลลิกรัม

เหล็ก 1.60 มิลลิกรัม

ไธอามีน 0.15 มิลลิกรัม

ไรโบฟลาวิล 0.35 มิลลิกรัม

ไนอาซีน 0.40 มิลลิกรัม

เลซิติน 1,280.00 มิลลิกรัม

คลอเลสเตอรอล 200.00 มิลลิกรัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น